ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ม.บูฯเร่งเครื่องปั้นดิจิทัลฮับตะวันออก

ม.บูรพาเดินหน้าใช้ไอทีหนุนโปรเจ็คใหญ่ ปั้นมหาวิทยาลัยเป็นดิจิทัลฮับภาคตะวันออกใน 5 ปี หวังเพิ่มโอกาสเข้าถึงเน็ตเร็วสูง



นายวิโรจน์  เรืองประเทืองสุข รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยกำลังเร่งพัฒนาศักยภาพระบบไอที โดยการสร้างโครงข่ายอีเธอร์เน็ตความเร็วสูงระดับกิกะบิต รองรับการให้บริการบรอดแบนด์ และอีเลิร์นนิ่ง สำหรับนิสิต บุคลากร ตลอดจนสถาบันการศึกษาในภูมิภาค โดยตั้งเป้าขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคตะวันออกโดยเร็วที่สุด
 นายเสรี  ชิโนดม ผู้บริหารฝ่ายไอที(ซีไอโอ)  กล่าวว่า หลังจากได้รับเลือกให้เป็นสถาบันแม่ข่าย มหาวิทยาลัยเร่งเสริมแกร่งระบบอินฟราสตักเจอร์ และพัฒนาระบบโครงข่ายต่อเนื่อง ล่าสุด ติดตั้งโซลูชั่น “กิกะบิต คอนเวอร์เจ้นท์ คอมมูนิเคชั่น” จากบริษัทอาคาเทล ลูเซ่น รองรับผู้ใช้งานภายใน 43,000 คน พร้อมเตรียมขยายโครงข่ายต่อยอดการให้บริการไปยังสถาบันการศึกษาภายนอกทุกระดับ ตั้งแต่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนอาชีวศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา รวมอีกกว่า 3,600 แห่ง
 เขากล่าวด้วยว่า แต่ละปีจะใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาเสถียรภาพ และบำรุงโครงข่ายประมาณ 30-50 ล้านบาท พร้อมกับพัฒนาบุคลากรรองรับการขยายงานควบคู่กันไป การผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางจะช่วยให้เกิดการต่อยอดด้านโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้งแบบมีสายและไร้สายซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางการศึกษาต่อๆ ไป
 พร้อมระบุ บทบาทของมหาวิทยาลัยคือการเป็นฐานข้อมูลแห่งภาคตะวันออก ภายใน 5 ปีข้างหน้าโครงการจะต้องเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน พร้อมรองรับนโยบายเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาของการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
 นางสุรางคนา ธรรมลิขิต ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า ภายในปี 2556 จะเร่งพัฒนาระบบให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นอีก จากปัจจุบันที่มีความเร็วระดับ 1 กิกะบิตเป็น 10 กิกะบิต พร้อมกับพัฒนารูปแบบการให้บริการภายในมหาวิทยาลัยเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์(อีเซอร์วิส) เต็มรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งาน สานพันธกิจการเป็นองค์กรอัจฉริยะภายในปี 2563
 “5 ประเด็นหลักที่เราตั้งเป็นโมเดลไว้คือ 1.พัฒนาทรัพยากรบุคคล 2.เร่งพัฒนาอินฟราสตรักเจอร์ให้ครอบคลุมทุกการใช้งาน 3.ทำอีเซอร์วิสภายในมหาวิทยาลัยให้แล้วเสร็จ 4.จับมือพันธมิตรภายนอกร่วมกันพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และ 5.สร้างผลงานวิจัย โดยภายใน 10 ปีนี้ต้องมีผลงานนวัตกรรมด้านไอทีที่โดดเด่นออกมาให้ได้ ”
 นอกจากนี้ยังได้เริ่มทำโครงการต้นแบบ คลาวด์ คอมพิวติ้งภายในองค์กร เพื่อลดต้นทุนการใช้ทรัพยากรให้ได้มากที่สุดและกำลังร่วมมือกับบริษัทแอ๊ปเปิ้ลพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันบนไอโฟนควบคู่แผนงานอีเซอร์วิสด้วย

เครื่องยึดกระดูก ช่วยคนขาหัก

จากประสบการณ์ทำงานกว่า 30 ปี คลุกคลีรู้ปัญหาของคนไข้ และใช้เครื่องมือแพทย์มาแล้วหลากหลายชนิด ทำให้คุณหมอจากแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลปัตตานี เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาและประดิษฐ์อุปกรณ์การแพทย์ขึ้นใช้เอง เพื่อลดข้อจำกัดในการใช้งาน ลดความเสี่ยงของคนไข้และลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

ล่าสุดผลงาน “เครื่องมือยึดจับกระดูกจากภายนอกชนิดยืดหยุ่น” ของนายแพทย์อนุชิต จางไววิทย์ จากแผนกศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลปัตตานี คว้ารางวัลระดับดีเด่น รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2554 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ของสภาวิจัยแห่งชาติ

นายแพทย์อนุชิต บอกถึงที่มาของผลงานประดิษฐที่เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการแพทย์ชิ้นนี้ว่า ในแต่ละปีมีผู้ประสบอุบัติเหตุจากกระดูกหน้าแข้งหักมากกว่า 10,000 ราย ในการรักษาส่วนใหญ่มักใช้การผ่าตัดดามด้วยแผ่นเหล็กและสกรู ซึ่งนอกจากจะมีแผลยางจากการผ่าตัดในการดามเหล็กและเอาเหล็กออกแล้ว ยังเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ทำให้ต้องผ่าตัดหลายครั้งได้ ตนจึงพัฒนา”เครื่องมือยึดจับกระดูกจากภายนอกชนิดยืดหยุ่น” ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาในการแพทย์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก

ตัวเครื่องมือออกแบบเป็น 3 ส่วน มีท่อหลัก 3 ท่อนและ ส่วนข้อต่อและวงแหวนรัด คุณสมบัติพิเศษ คือน้ำหนักเบา สวยงาม ยืดหยุ่นแต่มีความแข็งแรงเพียงพอในการยึดตรึงกระดูกให้คงที่ตลอดการรักษา สามารถปรับแต่งมุมกระดูกนอกห้องผ่าตัด รวมทั้งปรับสั้น–ยาว ปรับหมุนได้ ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดแบบเดิม ๆ ตัวเครื่องมือมีลักษณะโปรงแสงเอกซเรย์ ทำให้การติดตามผลการรักษาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อกระดูกสมานกันแล้วสามารถถอดเครื่องมือดังกล่าวได้อย่างง่ายดาย

คุณหมอนักประดิษฐ์ บอกว่า ผลงานนี้ทำเสร็จตั้งแต่ปี 2552 ผ่านการตรวจสอบการใช้งานตามมาตรฐานของอุปกรณ์การแพทย์ ปัจจุบันใช้รักษาคนไข้ในโรงพยาบาลปัตตานีแล้วกว่า 50 ราย ซึ่งผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจทั้งแพทย์และผู้ป่วย สามารถลดภาวะเครียดของผู้ป่วย และลดระยะเวลาในการรักษาลง

สำหรับต้นทุนการผลิต นายแพทย์อนุชิต บอกว่า ต่ำมากเพียงหนึ่งพันบาท ขณะที่อุปกรณ์ยึดจับกระดูกภายนอกที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาหลักแสน และไม่ยืดหยุ่นได้เท่านี้

อุปกรณ์นี้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่หลาย ๆ ครั้ง ลดปัญหาค่ามัดจำเครื่องมือและยังสามารถลดจำนวนครั้งของผู้ป่วยในการเข้ารักษาในโรงพยาบาลอีกด้วย

นายแพทย์อนุชิต บอกอีกว่า การที่สภาวิจัยแห่งชาติให้รางวัลในครั้งนี้ ถือเป็นกำลังใจและผลักดันให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์ฝีมือคนไทยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณ ซึ่งตนเองพร้อมที่จะถ่ายทอดผลงานสู่ผู้ที่สนใจต่อไป

ชมผลงานประดิษฐ์คิดค้นนี้ได้ที่งาน “วันนักประดิษฐ์”ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 2-5 ก.พ.นี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี.

ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เปิดตัวซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของไทย กระตุ้นทุกองค์กรตื่นตัวและมีส่วนร่วมลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์สู่ชั้นบรรยากาศ
 ผศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า ขณะนี้นักวิจัยเอ็มเทคสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จรูปต้นแบบ สำหรับใช้ประเมินการปลดปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกของไทย (แอลซีเอ) ชื่อว่า Thai GHGs+ software เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปใช้กับองค์กรหรือผลิตภัณฑ์ของตัวเองเสร็จแล้ว
 “ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ถูกออกแบบโดยอ้างอิงมาตรฐานสากล ISO 14040 โดยจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ประกอบการในการคำนวณหาค่าการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ต่อชิ้น ตั้งแต่ตัววัตถุดิบจนถึงขั้นตอนการทำลายผลิตภัณฑ์หลังใช้งานเสร็จ เพื่อให้ทราบว่าจุดไหนของกระบวนการที่ควรปรับปรุงเพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด”ผู้อำนวยการเอ็มเทค กล่าว
 การพัฒนาซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นผลงานต่อยอดมาจากการจัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศที่พัฒนาขึ้นในปี 2550 ซึ่งเอ็มเทคร่วมกับพันธมิตรอีก 4 หน่วยงานได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  ซอฟต์แวร์ดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปใช้งานโดยตรง โดยมีเป้าหมายจะทดสอบการใช้งานฟรีใน 60 ผลิตภัณฑ์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อหาจุดบกพร่องและนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบพร้อมให้บริการดาวโหลดน์ใช้งานจากเว็บไซต์ต่อไปในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า
 ผู้อำนวยการเอ็มเทค กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการที่ใช้งานซอฟต์แวร์ดังกล่าว ไม่เพียงรู้ปัญหาและปรับปรุงกระบวนการผลิตของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีโอกาสในการแข่งขันด้านการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งเริ่มมีความเข้มข้นเรื่องการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต
 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวพัฒนาฐานข้อมูลวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ต้นน้ำมากกว่า 600 ฐานข้อมูล ครอบคลุมในกว่า 30 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่ระบบเศรษฐกิจแบบคาร์บอรนต่ำ ซึ่งประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปให้ความสำคัญมากขึ้น
 “อนาคตการประเมินค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์องค์กร แต่จะเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยที่ผู้บริโภคสินค้าเองสามารถมีส่วนร่วมได้โดยตรงผ่านการเลือกซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าว

การจัดการ…….นวัตกรรม

  ทันที่เราได้ยินคำว่า "นวัตกรรม" เราจะนึกถึงการสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือ การบริการรูปแบบใหม่ จะมีใครกี่คนที่จะรู้ว่า ในทางการจัดการก็มีการสร้างนวัตกรรมเช่นเดียวกัน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานในองค์กรธุรกิจ เรามาอ่านและทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันดีกว่า ว่า "นวัตกรรม" มันคืออะไร
Peter Drucker: ให้ความหมายคำว่า "นวัตกรรม" ไว้ว่า "Innovation is The act of introducing something new" เป็นการสร้างสิ่งใหม่ หรือการทำให้แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงมาสร้างให้เป็นโอกาส และต้องมีความชัดเจน และมุ่งเน้นถึงการพัฒนา และที่สำคัญคือต้องมีการลงมือกระทำ นวัตกรรมจึงจะเกิดขึ้น
ทำไมต้องมีนวัตกรรม Michael Porter กล่าวว่า "Innovation is one step remove from today's prosperity. Innovation drives the rate of long run productivity growth an hence future competitiveness." นวัตกรรมเป็นการก้าวไปจากความมั่งคั่งในปัจจุบันก้าวหนึ่ง และนวัตกรรมจะเป็นสิ่งผลักดันให้มีการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในระยะยาวและสร้างความสามารถในการแข่งขันในอนาคต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสาเหตุของการเกิดนวัตกรรมนอกจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในระดับมหภาคและระดับจุลภาคแล้ว การแข่งขันในเชิงธุรกิจก็เป็นปัจจัยในการสร้างหรือเกิดนวัตกรรมเพราะการสร้างนวัตกรรมถือได้ว่าเป็นจุดแข็ง และเป็นโอกาสขององค์กรธุรกิจที่จะสร้างความได้เปรียบเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจเดียวกัน
        
        โดยทั่วไปแล้ว นวัตกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
        - Product Innovation เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหรือพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการ (Tangible product and Intangible product)
        - Process Innovation เป็นนวัตกรรมกระบวนการ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่มองในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต โดยจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของความรู้ทางด้านเทคโนโลยี มาพัฒนากระบวนการผลิต
        - Organization Innovation เป็นนวัตกรรมที่เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการและบริหารองค์กร ซึ่งจะต้อง ใช้ความรู้ความสามารถในด้านการบริหารการจัดการมาปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่

        
ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึง Organization Innovation หรือนวัตกรรมองค์กร ที่มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการหรือการบริหารองค์กร ซึ่งเป็นการนำเครื่องมือทางการจัดการที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น TQM (Total Quality Management), Six Sigma, Balance Scorecard, Benchmarking เป็นต้น
        ตัวอย่างขององค์กรในประเทศไทยที่นำแนวคิดทางการจัดการมาสร้างเป็นนวัตกรรม ในลักษณะ Organization Innovation ได้แก่ โรงพยาบาลพญาไท ที่ได้นำหลักของ Six Sigma (ซิค ซิคม่า) มาใช้ลดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เช่นในเรื่องของปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนของเจ้าหน้าที่ การวางระบบการเก็บยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งผลของการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ก็ถืออยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ หรือแม้แต่ในระบบราชการในเมืองไทย ก็มีการสร้างนวัตกรรมในการบริหารเช่นเดียวกัน ตัวอย่างที่ได้มีการปฏิบัติแล้วก็คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) โดยการสร้างระบบ Public Service Management Standard and Outcome (PSO) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลแห่งประเทศไทยด้านการจัดการ และผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานภาครัฐเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ทั้งหมด 11 ระบบ เช่น ระบบข้อมูล ระบบการบริการประชาชน ระบบการวัดผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นต้น หรือตัวอย่างขององค์กรต่างประเทศ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือกรณีของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง General Electrics (GE : จีอี อีเล็คทรอนิค) กับการนำแนวคิดของ Six Sigma มาใช้ ที่ในปัจจุบัน GE ได้กลายเป็นต้นแบบในการนำ Six Sigma มาใช้ให้กับองค์กรอื่นทั่วโลก นอกจากนี้ในธุรกิจด้านฟาสต์ฟูดอย่าง McDonald ก็ได้นำหลักการ TQM (Total Quality Management: การจัดการคุณภาพโดยรวม) มาใช้ในกระบวนการจัดเตรียมอาหาร ทำให้สามารถให้บริการอาหารที่สด รวมถึงการจัดการในด้านการบริการลูกค้า วิธีการทำอาหารโดยการสร้างมาตรฐานให้ใกล้เคียงกับเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพ ของธุรกิจอุตสาหกรรม หรือธุรกิจบริการอย่าง Federal Express, Disney World รวมถึง เซเว่น อีเลฟเว่น ก็ยังให้ความสำคัญต่อการนำ TQM มาจัดการโดยมุ่งการจัดการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน และการพัฒนาองค์กร นอกจากนี้ TQM ยังสามารถที่จะนำมาใช้ในธุรกิจสายการบิน และโรงแรมได้เช่นเดียวกัน ในส่วนของ Balance Scorecard (BSC: เป็นเครื่องมือ ในการแปรกลยุทธ์มาสู่การปฏิบัติ และเป็นเครื่องมือประเมินผล) ตัวอย่างเช่น บริษัท Rockwater, Apple Computer (บริษัท แอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์), Advanced Micro Devices (AMD) ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้ใช้ BSC มาใช้ในการวัด Performance และกำหนดกลยุทธ์ หรือตัวอย่างในเมืองไทยที่ได้นำแนวคิด BSC มาใช้ คือ เซเว่น อีเลฟเว่น โดยนำมาใช้ในการวางระบบการทำงานให้มีความสอดคล้องมากขึ้น เป็นต้น
        จากตัวอย่างที่ได้ยกมา พอจะสรุปได้ว่า นวัตกรรมองค์กรหรือการนำแนวคิดทางด้านการจัดการมาใช้ในองค์กรธุรกิจ เริ่มจะเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานองค์กรธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลายๆ องค์กรธุรกิจพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อสร้างให้เป็นจุดแข็ง และโอกาส ที่จะสามารถจะนำมาสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
แต่อย่างไรก็ตามในการสร้างนวัตกรรมองค์กร ใช่ว่าทุกองค์กรจะทำแล้วจะประสบความสำเร็จ สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากพฤติกรรมที่ปิดกั้นความสามารถด้านนวัตกรรม กล่าวคือ การไม่ยอมรับหรือกลัวในสิ่งที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่องค์กรธุรกิจจะต้องจัดการก่อนที่จะดำเนินการสร้างนวัตกรรมองค์การนั้น องค์กรธุรกิจจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้
        1. ต้องเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมโดยรวมทางธุรกิจ หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งจะพิจารณาในด้านของความเหมาะสมความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง
        2. ต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมภายในองค์กรธุรกิจว่ามีความพร้อมในการที่จะสร้างนวัตกรรมองค์กรหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเงินทุน และ ตัวบุคลากร
        3. สร้างความเข้าใจ กับทุกฝ่ายในองค์กรธุรกิจ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ เพื่อสร้างแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากคนบางกลุ่มที่ไม่สามารถยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
        4. นวัตกรรมที่จะทำนั้นสามารถที่จะทำได้ในความเป็นจริง และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจ ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ความคิด
ซึ่งความสำคัญของความรู้ที่ได้กล่าวมานั้น อาจถือได้ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรมองค์การ ซึ่งถ้านำปัจจัยพื้นฐานทั้งหมดมารวมกัน คือ การเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมโดยรวมของธุรกิจ การเข้าใจสภาพแวดล้อมภายในขององค์กร การสร้างความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กร และนำนวัตกรรมนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็จะทำให้การจัดการนวัตกรรมองค์กร สามารถที่จะกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในที่สุด

รู้ทันพลังงาน

มื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึงเชื้อเพลิงขยะหรือที่เราเรียกง่าย ๆ ว่า อาร์ดีเอฟ (RDF : Refuse Derived Fuel) และการนำไปใช้ประโยชน์เป็นพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ต่อเนื่องกัน 2 ตอน โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อจะนำเชื้อเพลิงขยะมาใช้นาน ไม่ว่าจะใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงเสริมหรือเป็นเชื้อเพลิงหลัก ในตอนนี้จะขอกล่าวถึงวิธีการหรือขั้นตอนการแปรสภาพขยะให้เป็นเชื้อเพลิงขยะ

        ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการหรือขั้นตอนในการแปรสภาพขยะนั้น เราควรจะทราบถึงประเภทของเชื้อเพลิงขยะเสียก่อนว่ามีอะไรบ้าง การนำขยะมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้นยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานว่าจะต้องมีลักษณะเป็นเช่นไร มีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการหรือว่าความสามารถของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนรูปขยะไปเป็นพลังงาน อย่างไรก็ตาม ได้มีการแบ่งประเภทเชื้อเพลิงขยะโดยใช้ชื่อเรียกที่แตกต่างกันเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและการนำไปใช้งานซึ่งมีอยู่ 2 ระบบ ได้แก่ ระบบทางประเทศสหรัฐอเมริกา และระบบทางกลุ่มประเทศยุโรป โดยระบบทางประเทศสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ตั้งแต่ RDF-1 คือ การใช้ขยะมาเป็นเชื้อเพลิงในสภาพที่ถูกจัดเก็บมาโดยตรงเลย อาจจะมีการแยกชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่ออกมาในกรณีที่สามารถเห็นได้ด้วยตา RDF-2 คือ ขยะที่ถูกจัดเก็บมาแล้วมาผ่านกระบวนการคัดแยกนำสิ่งที่เผาไหม้ไม่ได้ออก รวมถึงผ่านกระบวนการลดขนาดอย่างหยาบ ๆ ไม่ละเอียดมากนัก RDF-3 จะเหมือนกับ RDF-2 แต่จะมีการลดขนาดให้เล็กลง มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็น RDF-2 หรือ RDF-3 องค์ประกอบของขยะส่วนใหญ่ (หรือเกือบทั้งหมด) จะมีแต่องค์ประกอบที่เผาไหม้ได้เท่านั้น จากนั้นถ้าต้องการเชื้อเพลิงไปใช้กับเทคโนโลยีที่ต้องการขนาดของเชื้อเพลิงที่เล็กละเอียด เช่น Suspension Firing System ก็จะนำ RDF-4 หรือในทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการเชื้อเพลิงขยะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีความหนาแน่นมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและขนส่งนั้น ก็จะนำ RDF-3 มาผ่านกระบวนการอัดหรือที่เรียกว่า RDF-5 ในระหว่างกระบวนการอัด อาจจะมีการเติมส่วนประกอบต่าง ๆ เพิ่มเข้าไปเพื่อให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นตามต้องการ เช่น เติมหินปูนเพื่อช่วยในการดูดซับแก๊สที่มีสภาพเป็นกรดที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการเกิดปฏิกิริยาทางความร้อน เติมถ่านหินเพื่อช่วยให้มีค่าพลังงานที่สูงขึ้น หรืออาจจะผสมกับเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อการควบคุมปริมาณองค์ประกอบที่พึงประสงค์ต่าง ๆ เช่น ปริมาณคลอไรด์ ปริมาณโลหะหนัก ที่มีอยู่ในขยะให้มีปริมาณที่กำหนดหรือสามารถควบคุมได้ด้วยเทคโนโลยีการแปรรูปขยะเป็นพลังงานที่ใช้งานอยู่ สำหรับ RDF-6 และ RDF-7 คือ เชื้อเพลิงขยะที่ไม่ได้อยู่ในรูปของเชื้อเพลิงแข็ง เหมือนกับ RDF-1 ถึง RDF-5 ก่อนหน้านี้ แต่จะอยู่ในรูปของเชื้อเพลิงแก๊สและเชื้อเพลิง แต่จะอยู่ในรูปของเชื้อเพลิงแก๊สและเชื้อเพลิงเหลว ตามลำดับ การที่จะเปลี่ยนสภาพจากเชื้อเพลิงแข็งไปเป็นเชื้อเพลิงแก๊สสามารถทำได้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า แก๊สซิฟิเคชัน (Gassification) ซึ่งแก๊สที่ได้จะประกอบไปด้วย คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และไฮโดรเจน (H2) เป็นองค์ประกอบหลัก และแก๊สอื่น ๆ เช่น มีเทน (CH4) ส่วนการเปลี่ยนสภาพจากเชื้อเพลิงแข็งไปเป็นเชื้อเพลิงเหลว ทำได้โดยผ่านกระบวนการเรียก ไพโรไลซิส (Pyrolysis) หรือการให้ความร้อนในสภาพไร้อากาศ ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งออกมาในรูปของเหลว ซึ่งมีองค์ประกอบของไฮโดรคาร์บอนเป็นหลัก แต่ของเหลวที่ว่านี้ยังไม่สามารถนำไปใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ได้ทันที เพราะยังอยู่ในสภาพที่คล้ายกับน้ำมันดิบ จำเป็นต้องไปผ่านกระบวนการกลั่นก่อน วิธีการที่จะเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงแข็งไปเป็นเชื้อเพลิงเหลวอีกวิธีหนึ่ง คือ การเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งไปเป็นเชื้อเพลิงแก๊ส หรือที่เรียกว่าแก๊สสังเคราะห์ (Syn gas) ก่อน โดยกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน เมื่อได้เชื้อเพลิงแก๊สมาแล้วก็จะนำแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และไฮโดรเจน (H2) ที่มีอยู่ในแก๊สนั้นมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์ที่เรียกว่า Fischer-Tropsch Synthesis ก็จะได้น้ำมันเชื้อเพลิงออกมา จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนสภาพจากขยะมาเป็นเชื้อเพลิงแก๊สหรือเชื้อเพลิงเหลวนั้น เป็นการเพิ่มคุณค่าและทางเลือกของการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงขยะในรูปแบบของพลังงาน แต่สิ่งที่ยังเป็นอุปสรรคสำคัญ ก็คือความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี แม้ว่าทั้งเทคโนโลยีแก๊สฟิเคชั่น และเทคโนโลยีไพโรไลซิสจะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ก็จริง แต่สถานภาพการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ยังอยู่แค่ในระดับเพียงเทคโนโลยีสาธิตบางอย่างยังอยู่แค่ในระดับวิจัยและพัฒนาเท่านั้น ดังนั้นการที่จะนำมาใช้กับขยะของประเทศไทย ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากกับขยะของประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีประเภทนี้ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศทางกลุ่มยุโรป จึงต้องระวังและพิจารณาอย่างรอบคอบจนแน่ใจเสียก่อน

        ส่วนระบบของทางกลุ่มประเทศยุโรปไม่ได้มีการแบ่งประเภทของเชื้อเพลิงขยะไว้หลายประเทศเหมือนกับระบบทางประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนเอาไว้ เพียงแต่มีการเรียกประเภทของเชื้อเพลิงขยะตามลักษณะทางกายภาพ ซึ่งกล่าวได้ว่ามี 3 ประเภท ได้แก่ c-RDF (Coarse RDF) f-RDF (Fluff RDF) และ d-RDF (Densified RDF) ซึ่งถ้าจะเทียบกับระบบทางประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะได้ว่า c-RDF เทียบได้กับ RDF-1 f-RDF เทียบได้กับ RDF-3 และ d-RDF เทียบได้กับ RDF-5

        จากประเทศของเชื้อเพลิงขยะที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นว่าขั้นตอนหรือวิธีการที่เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญนั่นก็คือ กระบวนการคัดแยกขยะมีองค์ประกอบที่หลากหลาย ถ้าแบ่งเป็นคร่าว ๆ ก็จะได้เป็นส่วนประกอบที่เผาไหม้ได้ และองค์ประกอบที่เผาไหม้ไม่ได้ และถ้าแบ่งองค์ประกอบที่เผาไหม้ได้ออกมาอีก จะพบว่าประกอบไปด้วย กระดาษ พลาสติก เศษผัก เศษอาหาร กิ่งไม้ใบไม้ หนัง เป็นต้น ส่วนองค์ประกอบที่เผาไหม้ไม่ได้ก็จะมี แก้ว โลหะ กระป๋องอะลูมิเนียม เศษหินเศษดิน เป็นต้น

        กระบวนการคัดแยกก็มีทั้ง แยกโดยใช้แรงงานคน (Hand sorting) และใช้เครื่องจักรกล (Sorting machine) ปัญหาสำคัญของกระบวนการคัดแยก ก็คือ การคัดแยกขยะซึ่งมีองค์ประกอบที่หลากหลายและแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้กระบวนการคัดแยกไม่สามารถทำได้ในขั้นตอนเดียว แต่ต้องมีหลายขั้นตอนเพื่อคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ ออกมาในแต่ละขั้นรวมถึงการมีการพัฒนากระบวนการคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพสูง ได้ส่วนที่จะนำมาเป็นเชื้อเพลิงขยะได้มากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้นด้วย

        หลายคนคงอาจจะเคยได้ยินกระบวนการบำบัดยะแบบเชิงกลชีวภาพ (Mechanical Biological Treatment, MBT) กระบวนการบำบัดขยะแบบชีวมวลเชิงกล (Biological Mechanical Treatment; BMT) กระบวนการบำบัดขยะแบบเชิงกลความร้อน (Mechanical Hot Air Treatment; MHT) หรือกระบวนการบำบัดขยะโดยใช้ไอน้ำ (Steam Treatment หรือ Autoclave Treatment) ฟังดูเยอะแยะไปหมด แต่กล่าวโดยสรุปก็คือเป็นพัฒนาการด้านกระบวนการบำบัดขยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการคัดแยกขยะให้สูงขึ้น

        ในปัจจุบัน จากการศึกษาของกลุ่มประเทศทางยุโรป พบว่า สัดส่วนของปริมาณเชื้อเพลิงขยะที่ได้ต่อปริมาณขยะ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเก็บขยะ กระบวนการที่ใช้ในการแปรสภาพขยะและคุณภาพของเชื้อเพลิงขยะที่ต้องการ โดยมีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 20-50% โดยน้ำหนักของขยะที่ป้อนเข้าแปรสภาพ และพบว่ากระบวนการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพสูงนั้น จำเป็นต้องมีการแยกทิ้งขยะตั้งแต่แหล่งกำเนิด (Separation at Source)

        จะเห็นได้ว่ากระบวนการจัดการขยะเพื่อแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงขยะนั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราเอง แต่ไม่ว่าเราจะเลือกใช้เทคโนโลยีหรือกระบวนการแบบใดก็ตาม ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการจัดการขยะเพื่อแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ การแยกทิ้งขยะตั้งแต่แหล่งกำเนิดไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใด ๆ เพียงแต่ละคนรู้จักที่จะทำการแยกขยะก่อนทิ้ง เราทุกคนสามารถที่จะทำการแยกขยะก่อนทิ้งได้โดยไม่ยาก ประเภทของขยะที่ควรทำการแยกก่อนทิ้งก็ไม่ยุ่งยากมากนัก ซึ่งจะประกอบไปด้วย 1.วัสดุที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ เช่น แก้ว โลหะ กระป๋องน้ำอัดลม พลาสติกประเภทต่าง ๆ กระดาษที่ยังไม่เปื้อนเป็นต้น 2.ขยะจำพวกอินทรีย์สารที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ซึ่งได้แก่ขยะจำพวกเศษอาหาร เศษผักที่ได้จากการจัดหา จัดเตรียมอาหาร ซึ่งขยะจำพวกนี้เหมาะสมที่จะนำไปบำบัดโดยกระบวนการหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ และ/หรือทำเป็นสารปรับปรุงคุณภาพดิน 3.ของทิ้งที่มีสารพิษ ตัวอย่างเช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ภาชนะบรรจุสารเคมี เป็นต้น ของงทิ้งจำพวกนี้จำเป็นต้องมีการจัดการเป็นพิเศษ และจำพวกสุดท้ายได้แก่ 4.ขยะทั่วไป ซึ่งก็คือขยะที่นอกเหนือจาก 3 กลุ่มดังกล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย กระดาษที่สกปรก โฟมบรรจุอาหาร ถุงบรรจุอาหาร กิ่งไม้ใบไม้ที่เกิดจากการตกแต่งสวน เศษผักเศษอาหารที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น เปลือกผลไม้เนื้อแข็ง เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้มีความเหมาะสมที่จะนำไปแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงขยะต่อไป และจะเห็นได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงขยะต่อไป และจะเห็นได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อแปรสภาพขยะส่วนนี้ ก็จะน้อยลงไม่ซับซ้อนยุ่งยากมากนัก และจะได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นด้วย

        เราอาจจะสรุปได้ว่า การแยกขยะก่อนทิ้งนั้นคือจุดเริ่มต้น และจุดสำคัญที่สุดของกระบวนการจัดการขยะอย่างเหมาะสมและดีที่สุด ดังนั้นการแยกขยะก่อนทิ้งจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติ (Code of Conduct) ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่งที่ควรปฏิบัติ (Code of Practice) แม้ว่าเราทิ้งขยะลงในถังเดียวกันเพื่อรอให้เจ้าหน้าที่มาเก็บไป เราสามารถแยกขยะก่อนทิ้งได้ โดยแยกประเภทของที่จะทิ้งแล้วใส่ถุงแยกไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่มาทำการเก็บขยะจากถังก็สามารถคัดแยกได้โดยง่ายและสะดวก กระบวนการจัดการต่อไปก็สามารถทำได้โดยง่ายมีประสิทธิภาพสูงขึ้นหลายคนอาจคิดว่าเพียงแค่แยกขยะก่อนทิ้งนั้นจะส่งผลให้เกิดกากรเปลี่ยนแปลงอย่างมากได้จริงหรือ ลองคิดดูว่าการแยกสิ่งของที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทำให้เราลดปริมาณการใช้วัตถุดิบที่ต้องนำมาใช้ผลิตสิ่งของเหล่านี้ รวมถึงพลังงานที่ต้องการใช้ในการผลิตก็ใช้น้อยลง ปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตก็น้อยลง ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง อีกทั้งการแยกแยะก่อนทิ้งทำให้กระบวนการจัดการขยะขั้นต่อไปสามารถทำได้โดยง่าย ก่อให้เกิดการจัดการที่ได้ประสิทธิภาพสูง ได้พลังงานออกมาจากการจัดการขยะและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่าแค่เพียงการกระทำเพียงเล็กน้อยของเราแต่ละคน สามารถก่อให้เกิดผลที่ตามมาอย่างใหญ่หลวง โดยไม่ต้องรอพึ่งเทคโนโลยีบำบัดซึ่งมักจะมีราคาแพงและมักจะใช้งานไม่ค่อยได้

หมายเหตุ :
        บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน บทความนี้ เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

ลอดปี 2551 หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีงานประกวดผลงานความก้าวหน้าทางความคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นระดับประชาชนหรือระดับเยาวชนและสามารถแปรรูปออกมาเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อหยุดยั้งวิกฤตสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายไปมากในปัจจุบัน เช่นเดียวกับทางบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ก็ได้มีการประกวดประดิษฐ์ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ภายใต้โครงการ “PTT CHEEN INNOVATION AWARD” สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่จะนำความรู้ความสามารถบวกกับไอเดียบรรเจิดคิดค้นนวัตกรรมที่จะช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

        นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น น่าใช้ สามารถใช้งานได้จริงและเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ที่สิ่งแวดล้อมมาเป็น โจทย์ ในการประกวดครั้งนี้ ผลงานชิ้นแรก กระเบื้องยางหลังคาจากเศษพลาสติกและเศษยางรถยนต์ ของนักประดิษฐ์สาว ลีสาวาตี เจ๊ะมามะ นักศึกษาชั้นปี 4 จากภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี จ.ปัตตานี ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศระดับอุดมศึกษาในการประกวดนี้

        เศษยางรถยนต์ไร้ค่า สร้างปัญหาในการกำจัด และหากทำลายด้วยหลังคาจากเศษพลาสติกและยางรถยนต์ของนักศึกษาผู้นี้ ที่ทำงานร่วมกับที่ปรึกษาอย่าง อ.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย และ อ.ธีรสุดา ประเสริฐ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้

        ลีลาวาตีบอกถึงแนวคิดผลงานว่า อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศไทย มีกว่าร้อยละ 70 ปริมาณการใช้รถยนต์ของคนไทยก็สูง ซึ่งยางรถยนต์เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ผลิตมากไปด้วย ยางรถหมดอายุการใช้งานถูกนำมากองทิ้ง จากข้อมูลพบว่าบ้านเรามีเศษยางรถยนต์หมดอายุจำนวนกว่า 1.7 ล้านตันต่อปี เช่นเดียวกับพลาสติกที่มีปริมาณการใช้มากไม่แพ้กัน วัสดุทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก ถ้าเผาทำลายจะเกิดมลพิษทางอากาศ จากปัญหาเหล่านี้จึงเกิดแนวคิดกระเบื้องยางมุงหลังคาที่นำเศษพลาสติกและเศษยางรถมารีไซเคิล เป็นส่วนประกอบมากกว่าร้อยละ 90

        “การผลิตทำโดยนำผงเศษยางรถยนต์ มาผสมกับยางธรรมชาติ (ยางแผ่นรมควัน) และสารเคมี ผสมกันบนเครื่องบดสองลูกกลิ้งทำให้มีคุณสมบัติเกาะติดกัน ยางที่ได้มีความเชื่อมโยง และทนทานแล้วมาผสมกับพลาสติกรีไซเคิล เมื่อได้เมล็ดพลาสติกผสมยางที่พัฒนาขึ้นแล้วนำมาย่อยด้วยเครื่องบดพลาสติกให้มีขนาดเล็กเพื่อง่ายต่อการขึ้นรูป ก่อนจะฉีดขึ้นรูปตามแบบที่เลือกมานี้ คือ แบบกระเบื้องหลังคา” นักประดิษฐ์อธิบายถึงนวัตกรรมใส่ใจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่คิดค้นขึ้นมา พร้อมกับให้เครดิตอาจารย์ที่ปรึกษา ทั้ง อ.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย และอ.ธีรดา ประเสริฐ ที่คอยให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเป็นอย่างดี

        เธอย้ำด้วยว่ากระเบื้องยางหลังคานี้มีคุณสมบัติที่ดี มีความทนทาน คงทนต่อสภาพอากาศ ทนแดด ทนฝน ทนกระแทก อายุการใช้งานยาวนาน นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุราคาถูกพร้อมจะเข้าสู่ตลาดราคาแผ่นละ 10-12 บาท นอกจากนี้ อยากฝากถึงเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และหันมาใช้วัสดุธรรมชาติ วัสดุที่นำมารีไซเคิลได้ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

        ฉนวนลดการสูญเสียความร้อนในหม้อก๋วยเตี๋ยว นวัตกรรมใหม่ ๆ ของ ปิยะนุช สุดาเดช, พิรุฬห์สิงห์ กวาง และสุริยา ภูนาสอน สามนักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก แม้จะได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวด แต่แนวความคิดน่าสนใจ เพราะตั้งใจแก้ปัญหาด้านการใช้พลังงานและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

        วิรุฬ อธิบายถึงผลงาน “ออกแบบและสร้างฉนวนทรงกระบอกเพื่อลดการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในหม้อต้มก๋วยเตี๋ยว” ว่าคือการนำโฟมเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ นำมาเป็นฉนวนลดการสูญเสียความร้อนให้กับหม้อก๋วยเตี๋ยว หม้อต้มกาแฟโบราณ และหม้อน้ำเต้าหู้ เพื่อเป็นการลดการใช้ก๊าซแอลพีจีของพ่อค้าแม่ค้า โดยโครงสร้างภายนอกเป็นสังกะสีและมีโฟมเหลือใช้บรรจุอยู่ภายในนอกจากฉนวนที่เป็นโฟมแล้ว ยังมีการทดลองฉนวนใยแก้ว และขี้เถ้าถ่านด้วย

        “ผลการทดสอบใช้งานจริงกับร้านก๋วยเตี๋ยวที่มหาวิทยาลัยนเรศวร เทียบกับหม้อดินที่ไม่มีฉนวน พบว่าฉนวนใยแก้วและขี้เถ้าถ่านลดการใช้ก๊าซแอลพีจีได้ประมาณ 1.5 กิโลกรัมต่อวัน ช่วยลดต้นทุนของแม่ค้าลงได้ ช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย เพราะปริมาณก๊าซไปเสียที่เกิดจากการเผาไหม้แอลพีจีลดลง ส่วนฉนวนโฟมไม่เหมาะกับการใช้งานที่ให้ความร้อนโดยตรง เหมาะกับการเก็บความร้อน อย่างหม้อร้านข้าวแกง ร้านขนมจีน ร้านราดหน้าที่ปรุงเสร็จแล้ว และอยากให้อาหารร้อนอยู่ตลอด”

        เพื่อนร่วมทีม ปิยะนุชเสริมว่า อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้ยึดติดกับหม้อก๋วยเตี๋ยว ทำให้ไม่ต้องลงทุนซื้อหม้อใหม่ แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนของฉนวนใยแก้ว และฉนวนขี้เถ้าถ่าน นอกจากนี้จะผลิตขายเป็นธุรกิจ สร้างรายได้ให้ชุมชนต่อไปก็ได้ เพราะมีการลงทุนต่อ คืนทุนได้ในระยะยาว

        มาดูนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อสิ่งแวดล้อมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แม้จะเป็นเด็กรุ่นเยาว์กว่าระดับมหาวิทยาลัย แต่ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ และมีแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์เครื่องมือจนสามารถใช้งานได้จริงอย่างน่าทึ่งไม่แพ้พี่ ๆ

        อย่างเช่น บอร์ดพลาสติกรีไซเคิล ลดภาวะโลกร้อน สร้างสรรค์โดย อุภารัตน์ สนั่นเอื้อ, พราวรวี พงษ์ศรี และลัดดาวัลย์ โลหะปาน จากโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย จ.หนองคาย ที่คว้ารางวัลชนะเลิศจากเวทีประกวดครั้งนี้ น้องลัดดาวัลย์ เผยแนวความคิดที่จัดทำบอร์ดพลาสติกรีไซเคิลให้ฟังว่า เราเห็นสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงทุกวันขยะเป็นตัวการหนึ่งทำลายสิ่งแวดล้อม และถุงพลาสติก เป็นขยะที่พบเห็นได้ทุกที่ รวมทั้งในโรงเรียนของเรา จึงคิดนำขยะพลาสติกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และต้องไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

        “เรานำขยะพลาสติก อย่างถุงพลาสติก ถุงใส่อาหาร มาทำละลายในน้ำมันเบนซินแล้วนำไปเทใส่กรอบทิ้งไว้จนแข็งตัว แกะกรอบที่หล่อออกจะได้แผ่นบอร์ดพลาสติกที่พร้อมใช้งาน มีความแข็งแรงทำบอร์ดในโรงเรียน รวมถึงใช้สร้างเป็นผนังหรือฉนวนกันความร้อนในบ้านก็ได้” นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ชาวหนองคาย กล่าวถึงผลงานที่ผ่านการศึกษาค้นคว้ามา และคว้ารางวัลชนะเลิศจากเวทีดังกล่าว

        อีกผลงาน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ถ้วยโฟมจากเศษวัสดุธรรมชาติ ทางเลือกแทนการใช้ถ้วยโฟมเจ้าปัญหา โครงงานสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.พิษณุโลก ผู้สร้างสรรค์ประกอบด้วย สิริภาภรณ์ พละเสถียร, นรัญญา ผ่องอ่วย และวิภา อาสิงสมานันท์

        น้องสิริภาภรณ์ เผยถึงที่มาของนวัตกรรมนี้ว่า มาจากปัญหาการใช้กล่องโฟมในชีวิตประจำวัน โฟมเหล่านี้ใช้เวลาย่อยสลายนาน 400-500 ปี ถ้าเผาโฟมจะได้สารซีเอฟซี ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนจากปัญหาเหล่านี้ เราได้ศึกษาและเลือกใช้วัสดุธรรมชาติมาเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพ ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ เช่น แป้งจากพืชธรรมชาติ เส้นใยธรรมชาติ ไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรมปลูกพืชที่ให้แป้งได้หลายชนิด เช่น เผือก มัน กล้วย ข้าว ข้าวโพด ฟักทอง มันสำปะหลัง แต่เราคิดที่จะนำแป้งจากกล้วย เพราะหาได้ง่ายในท้องถิ่น ที่เมืองพิษณุโลกมีการปลูกกล้วยกันมาก หาง่ายและเป็นวัสดุชนิดใหม่ที่สามารถใช้ทดแทนการผลิตโฟม

        วิธีการประดิษฐ์นั้น นักเรียนหญิงคนเดิมบอกว่า ได้ศึกษาความละเอียดของเนื้อแป้งจากกล้วยชนิดต่าง ๆ ทั้งกล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า เปรียบเทียบกับแป้งจากมันสำปะหลังเพื่อนำมาผลิตถ้วยใส่อาหาร พบว่า กล้วยน้ำว้ามีเนื้อละเอียดที่สุดและคล้ายแป้งมันสำปะหลังที่สุด เพื่อเพิ่มความเหนียวและทนต่อแรง จึงเพิ่มส่วนผสมแป้งสาลีเข้าไป ให้ถ้วยโฟมนี้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ นำเส้นใยธรรมชาติจากสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่นที่มีความเหนียวมาผสมเพิ่มความเหนียวของภาชะจกแป้งกล้วย เป็นที่มาของอัตราส่วนแป้งต่อแป้งสาลี ต่อใยสับปะรด ต่อน้ำที่อัตรา 2 ต่อ 2 ต่อ 1 ต่อ 5 เป็นอัตราส่วนที่สามารถทำภาชนะมีประสิทธิภาพที่สุด และอบภาชนะทำจากแป้งกล้วยที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที

        “แป้งจากกล้วยน้ำว้านำมาเป็นวัสดุถ้วยโฟมจากวัสดุธรรมชาติได้ ใช้งานได้แบบเดียวกับภาชนะที่ทำจากโฟมซึ่งเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายยาก แต่โฟมถ้วยที่ผลิตจากแป้งเป็นวัสดุธรรมชาติ กินได้ทุกส่วนผสม ถ้านำไปทิ้งก็ย่อยสลายได้ง่าย กลายเป็นปุ๋ย ไม่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม” วิภา สมาชิกในทีมสรุปในภาพรวม

        การประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ PTT CHEMICAL GREEN INNOVATION AWARD นี้เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและบริษัท ปตท.เคมิคอลจำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษาและอุดมศึกษาทั่วประเทศนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด 32 ทีม และได้ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 10 ทีม ก่อนที่จะมีการประกาศผลรางวัลรอบชนะเลิศเมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ จามจุรี สแควร์ พร้อมงานแสดงผลงานประดิษฐ์คิดค้นจาก 10 ทีมรอบตัดเชือก

        ผลการตัดสินครั้งนี้ ระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา รางวัลชนะเลิศ บอร์ดพลาสติก รีไซเคิล ลดภาวะโลกร้อน โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย จ.หนองคาย รองชนะเลิศอันดับ 1 ถ้วยโฟมจากวัสดุธรรมชาติ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.พิษณุโลก รองอันดับ 2 อิฐบล็อกประสานจากขยะ จากโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม จ.เชียงใหม่ รางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล กระถางโอเอซิส จากขวดพลาสติกใช้แล้วของโรงเรียนสามพรานวิทยา จ.นครปฐม และไฟฟ้ากังหันท่อ PVC โรงเรียนยอเซฟอุปถัมภ์ จ.นครปฐม

        ระดับอุดมศึกษา รางวัลชนะเลิศได้แก่ กระเบื้องยางหลังคาจากเศษพลาสติกและเศษยางรถยนต์ จากภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จ.ปัตตานี รองชนะเลิศอันดับ 1 การใช้ฟิล์มวัสดุประกอบแต่งนาโนในงานบรรจุภัณฑ์อย่างอ่อน ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ รองอันดับ 2 การผลิตแท่งไม้พลาสติกโดยใช้เศษพอลิเมอร์รีไซเคิล ของภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธานี ชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ หม้อก๋วยเตี๋ยวประหยัดพลังงานไร้สารตะกั่ว แผนกวิชาเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี และผลงานออกแบบและสร้างฉนวนทรงกระบอกเพื่อลดการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในหม้อก๋วยเตี๋ยว โดยมหาวทิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเหล่านี้ถือเป็นเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

นาโนเทคโนโลยีกับการรักษาโรคมะเร็ง


 เรื่องหนึ่งที่เราได้ยินกันหนาหูคือ คำว่า นาโนเทคโนโลยี และเชื่อหรือไม่ การแพทย์ "นาโน" ก็รักษามะเร็งได้ นาโนเทคโนโลยีคือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสร้างสิ่งที่มีขนาดในระดับนาโนเมตร (1-100 นาโนเมตร) สิ่งที่เล็กจิ๋วดังกล่าวมีประโยชน์มหาศาลในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง ขณะนี้สำนักงานนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติของไทยได้พัฒนาหัวรบนาโนกับแอนติบอดี้ออกฤทธิ์จำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง เพื่อจะนำไปสู่การรักษาโรคมะเร็งของคนไทยในอนาคต
การนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้มีหลายวิธี ตั้งแต่การพัฒนาอุปกรณ์ขนาดจิ๋วที่เป็นพาหะนำยาป้องกันมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย การใช้ยานาโนมาทำเป็นวัคซีนป้องกันโรค การใช้เครื่องตรวจขนาดจิ๋วตรวจดัชนีบ่งชี้โรค การพัฒนาเครื่องมือตรวจมะเร็ง การวินิจฉัยโรคด้วยสารตรวจขนาดจิ๋วที่วิเคราะห์ได้ละเอียดถึงระดับเซลล์ และการติดฉลากหัวรบขนาดจิ๋วกับยามะเร็ง เพื่อนำยาไปสู่มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้ยานาโนรักษามะเร็งตัวแรกในไทยกำลังขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา โดยตัวยาเคมีบำบัดที่ติดฉลากนาโนนี้เป็นยาที่มีต้นกำเนิดจากต้นสนในสหรัฐอเมริกา จึงจัดได้ว่ามาจากสมุนไพร เป็นยาโบราณใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บมานานหลายพันปี การนำสมุนไพรมาผสมผสานกับนาโนเทคโนโลยีทำให้ได้ยาใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง และเพิ่มอำนาจทะลุทะลวงไปสู่เซลล์มะเร็ง จึงเป็นเรื่องนาทึ่งและเป็นความหวังของผู้ป่วย

นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาอีสาน

หัวข้อ    การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานด้านห้องสมุด  
1. ความเป็นมาในการพัฒนาผลงาน
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและพันธกิจของสำนักวิทยบริการที่มุ่งตอบสนองวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย  มุมอีสานสนเทศจึงได้พัฒนาฐานข้อมูลอีสานสนเทศ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือไว้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป โดยใช้โปรแกรม KnowledgebasePublisher ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาอีสานแก่ผู้รับบริการ
2. วัตถุประสงค์
1.  เพื่อจัดการความรู้ให้กับผู้รับบริการ โดยเน้นความรู้ด้านภูมิปัญญาอีสานและอีสานศึกษา
                2.  เพื่อพัฒนามุมอีสานสนเทศให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ
                3.  เพื่อปรับปรุงบริการอีสานสนเทศเป็นบริการเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียว (One Stop Service)
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ออกแบบกระบวนการทำงาน ระบบงาน และโครงสร้างพื้นฐาน
2. รวบรวมข้อมูล ศึกษาค้นคว้าจากทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด อินเทอร์เน็ต และ/หรือแหล่งความรู้จากบุคคล ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน
3. จัดการเนื้อหา (Content Management) ภูมิปัญญาอีสาน โดยเรียบเรียงเป็นบทความ หรือเรื่องย่อ
4. นำบทความหรือเรื่องย่อมาบันทึกลงในฐานข้อมูล โดยสามารถเข้าใช้งานฐานข้อมูลดังกล่าว ได้ที่   http://lib12.kku.ac.th
 4. เครื่องมือหรือกลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน
ใช้โปรแกรม KnowledgebasePublisher  ในการพัฒนาฐานข้อมูล ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวเป็นซอฟท์แวร์รหัสเปิด (Open source software) ที่เป็นฟรีแวร์ (Freeware) ไม่ต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อหรือเช่า ทำให้ประหยัดงบประมาณขององค์กร
5. ประโยชน์ที่ได้รับ
สำนักวิทยบริการมีแหล่งเรียนรู้เฉพาะสาขาวิชาที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น
6. ความโดดเด่นของผลงาน
เป็นการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาอีสานขึ้นใช้เอง ที่ประหยัดงบประมาณ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะงานอื่นๆ ได้

นวัตกรรมการเรียนรู้

ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ถ้าท่านศึกษาหลักการของการปฏิรูปการศึกษาหรือพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ท่านจะมองเห็นว่าหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาหรือหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินั้น อยู่ที่การยกระดับคุณภาพประชากรของประเทศให้สูงขึ้น ทำไมเราต้องยกระดับประชากรของประเทศให้สูงขึ้น ก็เพราะว่าเรามีความเห็นสอดคล้องตรงกันว่า ถ้าคุณภาพของประชากรของประเทศไม่ได้รับการยกระดับ ไม่ได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้นแล้ว ประเทศไทยของเราจะไม่สามารถพัฒนาเท่าเทียมหรือแม้แต่วิ่งตามประเทศอื่น ๆ จะทำได้ยากถ้าเราไม่ยกระดับประชากรของประเทศให้สูงขึ้น ประเทศไทยจะเสียเปรียบมากในประชาคมโลก นอกจากจะเสียเปรียบทางด้านเศรษฐกิจขณะนี้เราก็มองเห็นชัดเจนว่า เรามีปัญหาทางเศรษฐกิจเพราะว่าคนของเรายังไม่สามารถจะคิด สามารถที่จะทำงานได้เหมือนคนต่างประเทศ เราต้องไปพึ่งพาอาศัยเขาตลอดเวลา คนอื่นเขาคิดอย่างไรเราก็ตามไม่ทัน นอกจากนั้นถ้าเราไม่เร่งรีบพัฒนาคนในชาติ ทางด้านสังคมเราก็จะขาดทุน สังคมภายนอกก็จะเข้ามา มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ต่อวัฒนธรรมไทย โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกที่ระบบสื่อสาร ไร้พรมแดน สื่อมวลชนต่าง ๆ วิทยุ โทรทัศน์ แม้แต่ Internet สารพัดอย่างเข้ามาหาตัวเรา ดีบ้าง เลวบ้าง ถ้าคนของเราไม่มีการศึกษาที่ดีพอเราก็จะได้รับข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่ดี แล้วก็ชักจูงเราไปในทางที่เสีย หลงไปในทางที่ผิด อิทธิพลสื่อสมัยใหม่นี้ ร้ายแรงมาก
เพราะฉะนั้น เราต้องคิดพัฒนาประเทศ ยกระดับคุณภาพการศึกษาของคนในประเทศให้สูงขึ้น เราจะยกให้สูงขึ้นในเรื่องอะไร ขณะนี้ความคิดที่เรามองเห็นสอดคล้องตรงกันก็คือ คนในประเทศต่อไปนี้จะต้องมีคุณสมบัติหลาย ๆ ด้านจึงจะพาประเทศให้อยู่รอดปลอดภัยไปได้ ด้านแรกก็คือ คนของเราจะต้องเป็นคนเก่ง คนเก่งคือคนมีความรู้ ความรู้ก็ต้องเป็นความรู้หลาย ๆ ด้าน เป็นความรู้ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ขณะนี้โลกยุควิทยาศาสตร์ ก็ต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เข้าโลกยุคเทคโนโลยี ก็ต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี เขารู้เรื่องคอมพิวเตอร์ เราก็ต้องรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็น ต้องมีความรู้ ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ อีกด้านหนึ่งเราต้องการคนดีของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาสังคมที่สับสนวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ ปัญหาของคนดีอยู่ที่ว่าเรามีคนดีมากหรือน้อยในสังคม ถ้าคนมีคุณธรรม มีจริยธรรม รู้จักหน้าที่ รู้จักรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความขยัน มีความอดทน ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลอยู่ในธรรม ตามลัทธิ ตามความเชื่อทางศาสนาที่ตนเองเคารพนับถือ คนนั้นจะเป็นคนดี คนที่ดีก็จะไม่ไปคดโกงคนอื่นไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง ไม่คิดเอาเปรียบหรือคิดร้ายคนอื่น ถ้าคนของเรา มีคุณธรรม มีจริยธรรม สังคมก็เป็นสุข สังคมก็สงบ นอกจากสังคมเป็นสุขมีความสงบแล้ว คนก็จะมาช่วยเหลือกันร่วมมือกัน คนร่วมมือกันสังคมก็เจริญก้าวหน้า ยิ่งถ้ามีคนเก่งมาช่วยเหลือก็ยิ่งทำให้สังคมมีความเจริญงอกงาม ประเทศไทยของเราก็จะเจริญ งอกงาม ไปด้วย
ดังนั้นสิ่งที่เรามุ่งหวัง เราอยากได้คนเก่ง เราอยากได้คนดี เราอยากได้คนที่รักสังคม รักสิ่งแวดล้อม อยากได้คนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น อยากได้คนที่ขยันขันแข็ง ทำมาหากินประกอบการงานอาชีพ นี่คือสิ่งที่เราปรารถนาอยากจะเห็นว่าการศึกษาช่วยประเทศชาติ โดยการสร้างคนที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ถ้าเราสร้างมากเท่าไหร่ประเทศชาติเราก็จะเจริญเร็วเท่านั้น ถ้าเรามีน้อยประเทศของเราก็จะพัฒนาไปได้ช้า เราคิดกันต่อไปว่าถ้าเราอยากจะได้คนอย่างนี้จะทำอย่างไรคนเก่งต้องเก่งตลอดไป ไม่ใช่เก่งวันที่เข้าโรงเรียน ออกจากโรงเรียนแล้วไม่เก่ง ต้องเก่งไปเรื่อย ๆ คนที่จะเก่งได้และเก่งไปได้นาน ๆ เป็นคนดีได้นาน ๆ จะต้องเป็นคนที่พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา คนที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาต้องเป็นคนที่แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
เราต้องการให้ประชากรของประเทศสนใจศึกษาแสวงหาความรู้ ถ้าเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ยิ่งดี เป็นปรัชญาของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้คนได้ศึกษาพัฒนาตนเองตลอดชีวิต การทำให้คนพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต เขาต้องรักการเรียน เราต้องสร้างนิสัยรักการเรียนให้เกิดขึ้นนอกจากสร้างนิสัยให้เขารักการเรียนแล้ว เขาจะต้องรู้วิธีค้นคว้า หาความรู้ รู้จักแหล่งความรู้แหล่งต่าง ๆ เมื่อรู้จักการเรียนรู้แล้วเขาก็เรียนรู้ตลอดชีวิตและก็เป็นคนพัฒนาตนเองไปตลอดชีวิต สิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายการศึกษาที่เราต้องการสร้างคน ยกระดับคนให้สูงขึ้น เมื่อเราคิดสร้างคนในลักษณะนี้แล้ว เราจะสร้างคนออกมาเป็นอย่างไร เป็นพิมพ์เดียวกันทุกคน ๆ หรือเปล่า มนุษย์จะไปทำเหมือนเครื่องจักรไม่ได้ เพราะมนุษย์มีชีวิต มีจิตใจแต่ละคนไม่เหมือนกัน กระบวนการสร้างคนจะต้องสร้างบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าคนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เพราะถ้าเราไม่เชื่อว่าคนสามารถเรียนรู้ได้ ก็แปลว่าเราคิดว่าบางคนโง่เกินไปไม่ต้องเรียนหนังสือ บางคนฉลาดเกินไปไม่ต้องเรียนหนังสือ เอาเฉพาะคนที่ปานกลางมาเรียน แต่จริง ๆ แล้วคนทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ ไม่มีคนที่ฉลาดเกินไปที่ไม่ต้องเรียนรู้ ไม่มีคนพิการเกินไปจนกระทั่งเรียนรู้ไม่ได้ แม้แต่คน ตาบอดก็เรียนรู้ได้ คนหูหนวกก็เรียนรู้ได้ บางคนเป็นง่อยก็เรียนรู้ได้ เขาจะมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน อันนี้จะต้องวางความเชื่อพื้นฐานให้เกิดขึ้น ให้เข้าใจว่าคนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ แล้วการที่จะพัฒนาประเทศยกระดับประเทศให้สูงขึ้น ต้องยกระดับคนทุกคนของประเทศให้สูงขึ้น ไม่ใช่เลือกยกบางคนให้คนบางคนได้เรียน เมื่อเราคิดว่าจำเป็นต้องยกระดับคนทุกคนให้สูงขึ้น จึงเป็นที่มาของความคิดที่ว่าต่อไปนี้เราจะต้องจัดการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี ให้กับคนทุกคน เราต้องยอมรับธรรมชาติความจริงอย่างหนึ่งว่าคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เมื่อแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจะให้เรียนเป็นบล๊อก ๆ เหมือนกันคงเป็นไปไม่ได้ หลักปรัชญาการศึกษา ความเชื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จึงให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ นั่นคือเราจะต้องส่งเสริมให้แต่ละคนได้พัฒนา ได้เรียนรู้ ตามพื้นฐานตามความถนัด ตามความสามารถของแต่ละคนที่แตกต่างกัน บางคนเรียนได้เร็วก็ไปเร็ว บางคนเรียนช้าก็ไปช้า บางคนถนัดคิดคำนวณ ก็เรียนไปทางคิดคำนวณ บางคนถนัดไปทางด้านศิลปะขับร้องดนตรีก็เน้นไปทางด้านนั้น บางคนถนัดทางด้านการกีฬาก็เน้นไปทางด้านการกีฬา แต่จริง ๆ แล้วทุกคนสามารถเรียนรู้ได้หมดทุก ๆ ด้าน และต้องเรียนรู้ผสมผสานบูรณาการ เรียนรู้หลาย ๆ อย่างกว้าง ๆ แต่สามารถจะเน้นความถนัด ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ตามความสนใจของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ระบบการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต จะต้องเป็นระบบที่ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาไปตามความถนัด ตามความสามารถของแต่ละคนแต่ละคน ทั้งหมดนี้เป็นหลักการใหญ่ ๆ ของการปฏิรูปการศึกษาที่ว่าเราจะทำอะไร ทำเพื่อใคร ทำอย่างไรเราจะทำให้เกิดผลอย่างนี้ได้
การปฏิรูปทำให้คนได้เรียนรู้ได้พัฒนาตามความถนัด ตามศักยภาพหมดทุกคนทั่วประเทศ ให้ทุกคนได้รับการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี และมีการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี แล้วก็จัดกระบวนการเรียนรู้ให้เขาสร้างนิสัยในการเรียนรู้ ให้เขาเรียนรู้ด้วยการแสวงหาความรู้ รู้จักคิด รู้จักวิเคราะห์ รู้จักค้นพบคำตอบต่าง ๆ ด้วยตนเอง การทำอย่างนี้จะสำเร็จได้หรือไม่ หัวใจก็อยู่ที่ครู เพราะว่าครูคือผู้มีหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน จัดให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้นมา บทบาทของครูในอนาคตคือ การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้เรียนที่จะต้องเกิดการเรียนรู้กันอย่างกว้างขวางและหลากหลาย หรือทันสมัย ทั้งหมดจะทันสมัยกว้างขวาง หลากหลายจะต้องคำนึงถึงการรักษาวัฒนธรรมรักษาความเป็นไทยเอาไว้ให้ได้ด้วย ความหวังนี้จึงฝากไว้ที่ครู ครูจะต้องทำบทบาท ทำหน้าที่อย่างนี้ได้ ครูที่จะทำหน้าที่อย่างนี้ได้ จะต้องเป็นคนไม่เหมือนคนธรรมดา เพราะถ้าเป็นคนเหมือนคนธรรมดาก็ทำโดยวิธีธรรมดา ผู้เรียนก็ไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริง เมื่อกล่าวถึงตรงนี้ก็มีคำวิพากษ์วิจารณ์ถึงว่าครูอาชีพ อาชีพครู และเขาบอกว่าขณะนี้ เรามีคนที่ประกอบอาชีพครูมาก แต่เรามีครูอาชีพน้อย แสดงว่ากำลังมองดูว่าครูของเราทำงานไม่ได้ผลตามที่คนอื่นเขาคิดหวัง ถ้าเราทำได้ตามที่คนอื่นคาดหวังเขาเรียกว่า “ครูอาชีพ” หนักไปกว่านั้นบางคนวิพากษ์วิจารณ์บอกว่าต่อไปนี้เราต้องสร้างครูพันธุ์ใหม่ พันธุ์ปัจจุบันมันเป็นอย่างไร เป็นการมองเห็นว่า ระบบครูในปัจจุบันเขามี ความสงสัยว่าจะสามารถทำหน้าที่อย่างที่ทุกคนคาดหวังได้หรือไม่ เพียงใด ผมมีความเชื่อว่าพวกเราซึ่งอยู่ในระบบขณะนี้สามารถ ทำหน้าที่ได้ เหตุที่เราทำหน้าที่ไม่ได้เพราะเราขาดปัจจัยเกื้อหนุนและสนับสนุน แต่ก็ยอมรับว่ามีครูบางคน บางกลุ่ม อาจทำหน้าที่นั้นไม่ได้ ซึ่งถ้าหากว่าบางคนบางกลุ่มเราเอาปัจจัยเกื้อหนุนปัจจัยสนับสนุนใส่เข้าไปแล้วก็ยังไม่สามารถปรับตัวทำหน้าที่นี้ได้ เราก็เชิญเขามาดูการทำหน้าที่ของพวกเราที่ทำหน้าที่ได้ต่อไป จึงมีความคิดที่ต้องพัฒนาครูในระบบให้มีคุณภาพสูงขึ้น จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู มีมาตรฐานวิชาชีพครู เพื่อประกันว่าคนที่เป็นครูนั้นต้องเป็น ผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความประพฤติที่ดี มีเจตคติที่ดี เหมาะสมที่จะเป็นครูอย่างแท้จริง ตรงนี้คือมีองค์กรวิชาชีพครู และมีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู คนที่จะเป็นครูต่อไปในอนาคตต้องได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ และเมื่อปฏิบัติในวิชาแล้วก็จะต้องมีการกำหนดให้พัฒนาตนเอง เพื่อเลื่อนมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น เป็นครูใหม่ ๆ เขาก็อาจจะเรียกว่าครูปฏิบัติการ พอทำ ๆ ไป พิสูจน์ให้เขาเห็นว่ามีความเก่งกล้าสามารถมากขึ้น ก็อาจจะเลื่อนเป็นครูชำนาญการ พอเป็นครูชำนาญการก็มีค่าตอบแทนให้ แล้วก็ให้ท่านพัฒนาตนเองสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่พัฒนาตนเองอาจจะมีเงื่อนไขว่าอยู่ตรงนี้ไม่พัฒนาตนเอง 8 ปี 10 ปี ก็เชิญไปทำหน้าที่อื่น เพื่อให้คนที่เหมาะจะเป็นครูให้มาทำหน้าที่แทน ดังนั้น คนที่เป็นครูในอนาคตต้องตื่นตัวจะไปทำตัวแบบยึดอาชีพเป็นครูก็ไม่ได้ จะต้องทำตัวเป็นครูอาชีพคือการพัฒนาตนเอง ผู้บริหารก็เช่นเดียวกัน การปฏิรูปการศึกษา การยกระดับคุณภาพการศึกษาในอนาคตเราฝากความหวังไว้ที่ ผู้บริหารมาก เพราะว่าผู้บริหารจะเป็นผู้นำ งานวิจัยทั้งหลายชี้ชัดเจนว่า ความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาในสถานศึกษา แต่ละแห่งกว่าร้อยละ 50 เป็นผลเนื่องจาก ผู้บริหาร แปลว่าถ้าให้ผู้บริหารที่เป็นผู้นำที่ดี โรงเรียนก็พัฒนาไปได้ดี แต่ถ้าผู้บริหารไม่เอาไหนชักนำโรงเรียนไปในทางที่ไม่ดี โรงเรียนก็ไม่ได้รับการพัฒนาครูอีก 10 คน 20 คน ช่วยดึงได้ประมาณร้อยละ 50 แต่ผู้บริหารดึงไปประมาณร้อยละ 50 เราตั้งความหวังไว้ที่ผู้บริหาร ผู้บริหารต่อไปต้องเป็นผู้บริหารมืออาชีพเช่นเดียวกัน จะต้องมีการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ผู้บริหาร มีใบประกอบวิชาชีพ ผู้บริหาร จะต้องมีการคัดเลือกผู้บริหาร และมีระบบการตอบแทนผู้บริหารในทิศทางเดียวกัน ทั้งหมดนี้คือแนวทางของการปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปการศึกษา เราคิดว่าจะสำเร็จนำไปสู่การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมีมาตรฐานให้สูงขึ้น นอกจากเรื่องครูแล้ว เรายังเชื่อมั่นว่าการศึกษาจะต้องเป็นของประชาชน ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม มาช่วยกันทำ มาช่วยกันดูแล มาช่วยกันสนับสนุน เรียกว่าการศึกษาเป็นของประชาชน แล้วก็ให้ประชาชนทุกคนมาช่วยกัน และให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา เพราะฉะนั้นหลักการจัดการศึกษา ในอนาคตเขาจึงใช้หลักกระจายอำนาจ ส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่น ให้ประชาชนได้มาช่วยกันดูแล การศึกษาเป็นหลักกระจายอำนาจ เพราะฉะนั้นโครงสร้างระบบการบริหารการศึกษาก็จะเป็นโครงสร้างแบบกระจายอำนาจ ท่านคงทราบแล้วถึงปี พ.ศ. 2545 เราจะไม่มีกระทรวงศึกษาธิการ แต่เราจะมีกระทรวงการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม แล้วก็ตัวกระทรวงนั้นจะทำหน้าที่เพียง 4 อย่างเท่านั้นที่สำคัญคือ จะไม่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการศึกษา แต่ทำหน้าที่เป็น ผู้กำหนดนโยบายและแผน ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน และทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามประเมินผล ไม่จัดเอง การศึกษาจะกระจายออกไป ถ้าเป็นอุดมศึกษาก็จะเป็นอิสระออกไป โดยสรุปการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ทำเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง เราจะทำสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคนจะต้องร่วมมือ ช่วยกันอย่างแข็งขัน การปฏิรูปการศึกษา ในครั้งนี้มีแต่ได้ประโยชน์และคนที่จะได้ประโยชน์มากคือประเทศชาติ เด็กและเยาวชนที่จะทำให้ระบบการศึกษาของเราเจริญก้าวหน้าขึ้น ขณะนี้เราเป็นผู้นำของโลกในเรื่องที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ทั่วโลกเขากำลังจับตามองว่าเราจะทำได้สำเร็จมากน้อยแค่ไหน สำเร็จหรือไม่สำเร็จก็อยู่ในมือของพวกเราทุกคน ก็ขอตั้งความหวังและเชื่อว่าทุกคนจะช่วยพัฒนา การศึกษาของเราได้อย่างเต็มที่ต่อไป

Blog หมายถึงอะไร ?

คำว่า Blog  ย่อมาจาก Weblog เกิดจากการรวมกันของคำสองคำ คือ คำว่าWeb ซึ่งหมายถึง อินเตอร์เน็ตเวิลด์ไวด์เว็บ  บวกกับ คำว่าLogซึ่ง หมายถึง การเก็บ บันทึก เมื่อรวมกันแล้วจึงได้ความหมายใหม่ว่า เป็นการเก็บบันทึกบทความหรือสิ่งต่างๆลงบนอินเตอร์เน็ต  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น
     ในปัจจุบันนี้นอกจากบทความต่างๆแล้ว ยังมีการเก็บรูปภาพเพื่อไว้ดูหรือแชร์กับเพื่อนๆให้เข้ามาเยี่ยมชมทางอินเตอร์เน็ตได้ด้วย  เป็นที่แสดงความคิดเห็นส่วนบุคคล หรือกลุ่มคน เหมือนเป็น Personal Website ของเจ้าของblogเอง และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ และการนำเสนอข้อความและแทรกภาพประกอบ และแนบไฟล์ได้อีกด้วย
     จุดเด่นของ Blog คือ สามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่งที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต่างๆผ่านทางระบบ comment ของบล็อก ซึ่งครอบคลุมได้ทั้งกลุ่มเพื่อน ครอบครัว และในองค์การการศึกษาได้อีกด้วย

เราจะเขียน blog (สารสนเทศ) อย่างไร? เพื่อให้เกิดการพัฒนาการคิดของผู้เขียน
     การเขียนblog เพื่อพัฒนาความคิดของผู้เขียน ควรเป็นประเด็นที่มีประโยชน์และก่อให้เกิดความรู้ต่อสาธารณะชน ซึ่งผู้เขียนควรตั้งโจทย์ก่อนว่า ควรจะเขียนข้อมูลด้านใด และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและการพัฒนาความคิดของผู้เขียนได้อย่างไรบ้าง  จากนั้นจึงเลือกหัวข้อที่เหมาะสมและค้นคว้าหารายละเอียดข้อมูล ซึ่งอาจเลือกหัวข้อที่ไม่ค่อยมีผู้ศึกษาหรือเสนอความรู้เพิ่มเติมมาก่อน หรือเขียนต่อยอดความรู้จากสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เกิดความรู้ใหม่ๆ หรือรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้นและง่ายต่อการศึกษา แต่ไม่ควรสร้างเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ขัดต่อกฏหมายและศีลธรรม
     จากนั้นจึงเริ่มเขียน โดยมีการศึกษาแหล่งข้อมูลที่หลากหลายในเรื่องที่จะเขียน เพื่อให้ข้อมูลบนบล็อกที่ผิดพลาดน้อยที่สุด และมีการนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับขั้นตอน หมั่นตรวจสอบคำผิดที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้าง โดยเลือกใช้ภาษาที่สุภาพ และถูกต้องในหลักไวยกรณ์ ไม่ควรลบข้อคิดเห็นของบุคคลอื่นที่เข้ามาเยี่ยมชม เว้นแต่เป็นข้อความก่อกวนหรือไม่สุภาพไม่ควรพาดพิงสถาบัน องค์กร หรือบุคคลอื่นในทางที่เสียหาย มีการให้เกียรติแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ที่นำมาใช้ โดยแสดงชื่อของแหล่งอ้างอิง หมั่นตรวจสอบตอบปัญหาหรือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทันทีที่มีผู้อ่านได้ถามเข้ามา เพื่อเป็นการดูแลเอาใจใส่ ไม่ทำให้บล็อกนิ่งและมีการupdateข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ
เราจะใช้ Blog เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างไร ? 
     ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการสื่อสารทาง internetมีความก้าวหน้ามากขึ้น ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ และค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จากความหลากหลายและกว้างไกลของระบบinternetในทุกวันนี้  เราจึงสามารถนำblogมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทุกวันนี้ ได้ด้วยประโยชน์ดังกล่าว เช่นโดยการนำข้อมูลความรู้หรืองานที่ต้องส่งเสนอส่งทางblog นักเรียนจะได้รับประโยชน์ ทั้งจากการค้นคว้าหาข้อมูลในinternetด้วยตนเองทำให้ได้เรียนรู้เพิ่มเกี่ยวกับcomputerและinternet และยังได้รับทักษะในการสร้างข้อมูลและจัดแต่งblogของตนเองอีกด้วย นอกจากนี้การนำเสนอส่งก็ทำได้รวดเร็ว จึงนับว่ามีประโยชน์มากๆ เป็นการประหยัดงบประมาณและทุ่นเวลาในการเดินทางและการนำเสนอของทั้งสองฝ่าย  เพราะสามารถส่งงานผ่านทางblogได้  ทางด้านอาจารย์เองก็สามารถตรวจงานที่สั่งไว้และcommentข้อเสนอแนะและข้อควรปรับปรุงให้นักเรียนทำได้ในทันทีเช่นกัน 
     การใช้เป็นวิธีการที่สะดวกและสามารถทำได้ทุกที่  และยังสามารถแก้ไขกรณีที่ฝ่ายนักเรียนและฝ่ายผู้สอนอยู่กันคนละสถานที่ เช่นติดธุระอยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศก็สามารถแก้ปํญหาในจุดที่กล่าวมาได้อย่างครอบคลุม เพราะมีเทคโนโลยีการสื่อสารรองรับ การใช้blogประกอบการเรียนรู้จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่ควรได้รับการพัฒนาลงในรูปแบบการศึกษา และเหมาะกับยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งสามารถเริ่มต้นด้วยวิธีการง่ายๆได้ดังนี้
1. ให้นักเรียนจัดทำ blog เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นนักเรียนกับอาจารย์ผู้สอน นักเรียนกับนักเรียน
2. ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลความรู้จาก blog ต่าง ๆ
3. ให้นักเรียนมีการแสดงความคิดเห็นใน blog เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน
4. ให้นักเรียนจัดทำงานแล้วส่งผ่านทาง blog จะได้เป็นการฝึกการเรียนรู้
5. ให้นักเรียนเขียนรายงานผลประโยชน์และทักษะความรู้ที่ได้รับรู้เพิ่มเติมขึ้นจากการทำงานครั้งนี้

ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรม (Innovation)  เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์
ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)

Innovate  แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)
นวัตกรรม (Innovation)หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คองพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย        
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์


หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
1.  เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2.  มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน  ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3.  มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.  ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
   - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
   - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
   - เครื่องสอน (Teaching Machine)
   - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
   - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น   - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
    -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น    - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
    - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
    - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
    - การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น  - มหาวิทยาลัยเปิด
   - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
   - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
   - ชุดการเรียน


เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

.....
การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)

ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้

1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)
3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

.....
ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียว

เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง

มิติของเทคโนโลยีการศึกษากับการสอนทางไกล

ความนำ                                                                                                                                
การศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนทุก ๆ สาขาอาชีพ  เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจในหลักการ  ทฤษฎีและวิถีชีวิตในการดำรงชีวิต
ในสภาพปัจจุบัน  และเนื่องจากเทคโนโลยีการศึกษาได้เข้ามาช่วยสนับสนุนให้การศึกษาเกิดขึ้นได้ง่าย และสะดวกต่อการเรียนรู้  คนเราจึงควรรับรู้ 
 เข้าใจและนำข้อดีของเทคโนโลยีการศึกษานี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ว่า
 การศึกษาทำให้เกิดการพัฒนา  และการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สุด  คือการให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่ดีต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ
สภาพสังคมและแม้จะอยู่ที่ใดก็สามารถได้รับการศึกษาตามต้องการ เนื้อหา การศึกษาในปัจจุบันอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการศึกษามาช่วย
จัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการรับรู้  และเข้าใจเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง เทคโนโลยีการศึกษาสามารถแยกองค์ประกอบ
ได้เป็น  3  มิติ  ดังนี้ 
 
 มิติที่   1 เกี่ยวข้องกับหน้าที่ (Function) ที่เทคโนโลยีการศึกษามีต่อการศึกษา ซึ่งมีอยู่   3  ด้าน คือ

  1. ด้านการบริหาร  การศึกษาทางไกลจำเป็นต้องมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งหลักการบริหารแนวใหม่ต้องใช้ศักยภาพหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้าน 
บุคคล  บริหารวิชาการ  บริหารโครงสร้างพื้นฐาน  เป็นต้น

  1.1 ด้านวิชาการ  ดังที่กล่าวมาแล้ว  วิชาการในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กระบวนทัศน์ในการคิดเชิงวิชาการต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 
ตัวอย่างการเปลิ่ยนแปลงองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันมานี้ก็คือ การกำหนดดาวนพเก้า หรือดาวเคราะห์ ว่ามีเพียง 8ดวงโดยดาวพลูโตถือว่าเป็นดาว
เคราะห์แคระ อันเป็นความรู้ใหม่ที่แตกต่างจากที่เคยร่ำเรียนมาในอดีต

  1.2 ด้านการบริหาร  การศึกษาทางไกล ต้องเกี่ยวข้องกับการให้บริการกับผู้เรียนเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นการบริการต้องรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
และนึกถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ
มิติที่  2  เกี่ยวข้องกับระบบและการจัดการ (System  and  management)  ที่เทคโนโลยีการศึกษามีต่อการศึกษาซึ่งมีอยู่   7  ด้าน
ได้แก่
  2.1  การจัดระบบ  ปัจจุบันการทำงานใด ๆต้องยึดถือระบบ เพราะการมีระบบที่ดีหมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน  เทคโนโลยีการศึกษา
ในปัจจุบัน หมายถึง ระบบ (System) มิได้หมายถึงเฉพาะเครื่องมือ และอุปกรณ์เท่านั้น ระบบที่ผู้เขียนได้พัฒนาขึ้นมามีองค์ประกอบคือ ดูด( Input) 
สับ ซับ ซึม ซัด (Process) สุด (Output) ส่าย (Feedback)

  2.2 พฤติกรรม การศึกษาทางไกล ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นหลัก รวมถึงรูปแบบการเรียนเพื่อผลิตและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะผู้เรียนนั้น 
  2.3  วิธีการ  การศึกษาทางไกล ต้องมีวิธีการที่หลากหลายใช้สื่อการสอนที่หลากหลายและนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
  2.4  การสื่อสาร  การสื่อสารเข้ามามีบทบาทในกระบวนการเรียนการสอนทุก ๆ  ประเภท ทั้งวิธีการสอนแบบดั้งเดิม  และวิธีการสอนแนวใหม่  
โดยเฉพาะการศึกษาทางไกลในปัจจุบันมีรูปแบบที่ไม่เหมือนเดิม มีผู้ส่ง  ผู้รับ ที่แตกต่างไปและใช้ช่องทางหลากหลาย  เป็นต้น
  2.5  สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมทางการเรียน  โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมและ
บรรยากาศ มีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการศึกษาทุกระดับและทุกรูปแบบ
  2.6 การจัดการ องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาคือการจัดการโดยเฉพาะ  การศึกษาทางไกล ในปัจจุบันต้องใช้เทคนิค 
การจัดการที่มีประสิทธิภาพ  จึงจะประสบผลสำเร็จ  ซึ่งมีทั้ง   4M  (Man, Money ,Material, และ Management)รวมถึง Information 
และ Technology  ด้วยซึ่งเรียกได้ว่าต้องมี 4MIT นั่นเอง
  2.7  การประเมิน การประเมินผลเป็นส่วนประกอบของระบบ คือ  Input  Process Output   และ Feedback  การที่จะรู้ว่าระบบดีหรือไม่ดี
 ต้องมีการประเมินอยู่เสมอ ๆ ทั้งภายในและภายนอก  จึงจะรู้ว่าประสิทธิภาพ และคุณภาพเป็นอย่างไร และมีข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นเช่นไร 
ทั้งนี้การศึกษาทางไกลต้องยิ่งให้ความสำคัญในการประเมิน
 มิติที่  3  เกี่ยวข้องกับลักษณะของการศึกษา (Types)  ที่เทคโนโลยีการศึกษามีต่อการศึกษาซึ่งมี  4  ด้านได้แก่
  3.1 การศึกษาในระบบ  ซึ่งปัจจุบันนี้มีการเรียนการสอนในระบบทุกระดับและรัฐบาลได้ขยายการศึกษาในระบบออกไปครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีการขยาย
การศึกษาภาคบังคับ  ที่มีจำนวนปีมากขึ้น  เทคโนโลยีการศึกษาได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษา  ในระบบมาเป็นเวลาอันยาวนาน
  3.2 การศึกษานอกระบบ  ปัจจุบันนี้รูปแบบการศึกษาเปลี่ยนไป  การศึกษานอกระบบได้เข้ามามีบทบาทมาก  โดยเฉพาะการศึกษาผู้ใหญ่ที่มีการทำงาน
ไปด้วยและศึกษาไปด้วยโดยไม่ต้องเสียเวลา แต่สามารถพัฒนาตนเองไห้ก้าวหน้าไปได้
  3.3 การศึกษาทางไกล     การศึกษาทางไกล จะสัมพันธ์อย่างยิ่งกับประเด็นต่าง ๆ   คือ  การออกแบบและพัฒนา  รูปแบบการศึกษาทางไกลในปัจจุบัน
 มีปรัชญา ว่า  ใครก็ได้  อยู่ที่ไหน ก็ได้สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา  ทุกหนทุกแห่ง  ไม่ได้ติดอยู่กับสถานที่หรือเวลา ดังนั้นการออกแบบวิชาต่าง ๆ ต้องคำนึง
ถึงสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว และเมื่อออกแบบและพัฒนาแล้วต้องมีการจัดการที่ดี  ทั้งระบบการให้บริการ  การตรวจสอบ ติดตาม  นอกจากนั้น  การสนับสนุน
ส่งเสริมเผยแพร่  ก็เป็นสิ่งสำคัญ  การศึกษาทางไกลปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีเครือข่ายมาช่วยสนับสนุนมาก  โดยเฉพาะที่เรียกว่า ดิจิตอลอินเทอร์เน็ต
 เวบไซต์ รวมถึง  e-Leaning  ที่จะมีบทบาทต่อการศึกษารูปแบบนี้อย่างมากมาย
  3.4 การเผยแพร่และฝึกอบรม  นอกจากทำวิจัยทั้งติดตามผล และพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ แล้ว การนำเทคโนโลยีมาใช้
 ต้องมีการเผยแพร่ให้ทราบข้อดี  ข้อด้อย และให้นำไปใช้มากขึ้น  จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้พัฒนาความรู้อยู่เสมอๆ 
การเผยแพร่และฝึกอบรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
 
ส่งท้าย
  จะเห็นได้ว่า   การศึกษาทุกลักษณะมีความสัมพันธ์อย่างยิ่ง กับการออกแบบและพัฒนา อาทิการออกแบบและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน 
ผ่านเครือข่ายหรือ e-Learning   การจัดระบบการเรียนการสอนที่สอดคล้อง  เพื่อให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา  ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยี
การศึกษาสนับสนุนส่งเสริมให้การศึกษาสามารถทำให้ง่าย สะดวก  โดยเฉพาะการศึกษาทางไกลที่เน้นว่า  ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร 
 ก็ได้ และการส่งเสริมเผยแพร่  เพื่อให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ  และให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจได้ทราบ  ได้ช่วยสนับสนุน  กำหนดเป็นประเด็น
ของการวิจัยต่อๆ ไป

นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความล้มเหลวของการพัฒนาแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา อัลเบิร์ต อาร์โนลด์ "อัล" กอร์ จูเนียร์ (Albert Arnold "Al" Gore Jr.)¹ นอกจากจะทำลายสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอันเกิดจากการกระทำมนุษย์ ทำลายชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ได้สร้างปัญหาให้กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมหาศาล การที่มนุษย์ยังคงใช้แนวทางพัฒนาแบบเก่าซึ่งไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา อันหมายถึง ข้อจำกัดด้านสภาพ ความสามารถที่จะรองรับการอุปโภค บริโภค และการใช้ประโยชน์จากโลก และเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะนำมาบริโภค และใช้ประโยชน์หมดลง อีกไม่นานทุกชีวิตบนโลกจะต้องจบสิ้นเพราะมนุษย์จะไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้อี­กต่อไป
หากมนุษยชาติบนโลกได้มีโอกาสได้รับการศึกษาและได้ เรียนรู้ค่านิยมมีพฤติกรรมและรูปแบบของชีวิตที่ตนพึงพอใจเพื่อ อนาคตที่ยั่งยืนและเพื่อสร้างสังคมที่ดีงามการพัฒนาทางการศึก ษา ที่ยั่งยืนจึงเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันมิให้โลกต้องเดินไปสู่จุดจบ
              “การพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน” หมายถึง “การพัฒนาที่ตอบ สนอง ความต้องการของคน เน้นความสามารถในการพึ่งตนเอง เป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและธรรมชาติ ยั่งยืน คงอยู่ได้เป็นเวลานานตลอดชีวิตหรือหลายชั่วอายุคนที่จะให้มวลมนุษยชาติ ในโลกได้มีโอกาสได้รับการศึกษาและได้เรียนรู้ค่านิยมมีพฤติกรรม และรูปแบบของชีวิตที่พึงพอใจ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและสร้าง สังคม ที่ดีงาม จึงพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืนตามวิธีการของ Le .Methodดังนี้
Le .Method นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน
             1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเองโดย
·        โรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้เตรียมความพร้อมทุกด้าน
·        ทุกหน่วยงานในสังคมมีบทบาทในการจัดการศึกษาเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนสามารถศ­ึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
¹http://nobelprize.org/nobel_prizes/peace/laureates/2007/index.html
http://ww.unescobkk.org/index.php?id=6600
http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/liciti/longlife.html
·   การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน ในลักษณะของการบูรณาการ สอดคล้องกับวิถีชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
·   หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตจะต้องครอบคลุมบทบาทของมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนตาย
·        การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยจะต้องเกื้อกูลกัน ทุกคนมีโอกาสศึกษา หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
           2. ความเสมอภาค (equality) ความเสมอภาคทางการศึกษาคือการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน     คือการให้สิทธิและโอกาสในการรับการศึกษาแก่ทุกกลุ่มคนในสังคม โดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายสถานะบุคคลทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ความสมานฉันท์  หรือการร่วมสุขร่วมทุกข์ ร่วมในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปัญหา  เสมอภาคโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ไม่ดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามกัน รวมทั้งไม่เอารัดเอาเปรียบกัน  จึงต้องมีขอบเขตในการที่จะไม่ก้าวล้ำ  ไม่ละเมิดต่อผู้อื่น  มีโอกาสที่จะใช้เสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน
สรุป
       คนคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในโลก  คนเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งของโลก แต่คนจะมีคุณค่ายิ่ง หากรู้จักประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษา เพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืนคือการที่ทุกคน มีโอกาส ได้รับการศึกษา ที่มีคุณภาพ และเรียนรู้ค่านิยม วิถีปฏิบัติ และ แนวการดำรงชีวิต ที่จำเป็น ต่ออนาคตที่ยั่งยืน และ การเปลี่ยน แปลงทางสังคมที่ดี การศึกษาคือทางออกสำหรับทุกๆด้านที่มีปัญหา ทุกปัญหาแก้ได้ด้วยการศึกษา การปลูกฝังด้านต่างๆ ก็อยู่ที่การศึกษาเพราะการศึกษา เป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการเรียนรู้และพัฒนาที่ยั่งยืน

เทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน

การก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในสังคมยุคใหม่ เพื่อเตรียมคนรุ่นใหม่ที่จะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีและนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องสร้างเยาวชนของชาติเพื่อเข้าสู่สังคมยุคใหม่โดยการจัดสภาพแวดล้อมใหม่ทางการศึกษาทั้งในด้านเนื้อหา สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นการบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่มีการบัญญัติไว้ในหมวด 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิด “การสอนด้วยเทคโนโลยี” มากกว่า “การสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี”

เอกสารฉบับนี้จึงมุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology), นวัตกรรมการศึกษา(Educational Innovation), นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Innovation Technology ; INNOTECH) ตลอดจนสื่อการเรียนการสอน,  สื่ออิเลคทรอนิกส์ (e-Learning), ข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ e-Learning ร่วมในบริบทการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน และ การพัฒนาการสอนด้วย Learning Object

Technology Learning Cycle

Technology Learning Cycle เป็นรูปแบบของกระบวนการในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมิสซูรี-โคลัมเบีย (University of Missouri-Columbia)ประเทศอเมริกา ซึ่งเป็นการอธิบายถึงกระบวนการในการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีของครูในลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายการจัดการศึกษา
โดยมีองค์ประกอบดังนี้
  1. Awareness หมายถึง การสร้างความตระหนักให้แก่ผู้เรียน โดยการชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึง วัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายอย่างกว้าง ๆ ของการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา อีกทั้งชี้ให้เห็นถึงเทคโนโลยีและแหล่งทรัพยากรที่เหมาะสมสำหรับการจัดการศึกษา
  2. Exploration and Filtration หมายถึงการสำรวจและกลั่นกรองที่จะศึกษานวัตกรรมเทคโนโลยี โดยผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้เลือกเรียนรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการในการเรียนรู้เพื่อนำเทคโนโลยีไปใช้ในการจัดการศึกษาตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล เพื่อความสำเร็จในงานที่ได้รับมอบหมาย
  3. Learning หมายถึง กระบวนการที่ผู้เรียนดำเนินการเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในตนเอง 2 ลักษณะ คือ ประการแรก เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ได้เลือก และประการที่สอง คือการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีนั้น ๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์จริง
  4. Personal and Professional Application หมายถึง การสร้างความสามารถเฉพาะตัวและการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีอย่างมืออาชีพ ซึ่งเกิดหลังจากที่ผู้เรียนพัฒนาตนเองจนเกิดความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาแล้ว ผู้เรียนจะเกิดความปรารถนาในการยกระดับความชำนาญของตนเองให้สูงขึ้น เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยู่ในระดับที่สามารถพัฒนาทักษะตนเองเพื่อการเรียนรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีอื่นๆ ต่อไป
  5. Sharing and Reflection หมายถึงการเผยแพร่และสะท้อนความคิดที่เป็นองค์ความรู้ในแต่ละบุคคลออกมาสู่ผู้อื่น เพื่อการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้และสร้างผลงานจากการดำเนินงานจริง ที่สะท้อนถึงการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีและการประเมินผลสำเร็จจากการดำเนินงาน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดความรู้ในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างครูและเทคโนโลยี

  • การใช้เทคโนโลยีที่ดี ครูต้องมีวิสัยทัศน์ ด้านความสามารถในการใช้และเลือกใช้ให้ตรงตามโอกาส และสถานที่
  • การฝึกอบรม เวลาในการสนับสนุน (just-in-time support) และเวลาในการฝึกประสบการณ์ ดังนั้นครูต้องมีแรงดลใจและความกล้าที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
  • การใช้เทคโนโลยีช่วยเปลี่ยนแปลงการสอนของคร
  • การใช้ในลักษณะที่ครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-centered) ครูต้องมีการฝึกฝนและปฏิบัติเพื่อให้มีความชำนาญในทักษะพื้นฐานหรือผนวกในการควบคุมกิจกรรมด้วยตนเอง
  • การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการสอนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered) ต้องช่วยให้ผู้เรียนได้สืบค้น เกิดกิจกรรมที่มีความร่วมมือกัน โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้แนะนำ โดยครูต้องมีความกระตือรือร้นในการใช้เทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้สนับสนุนการสอนได้หลายแบบ
  • การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเพื่อร่วมงาน, ผู้บริหาร, ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญในชุมชน
  • การช่วยให้ครูใช้เทคโนโลยีอย่างได้ผลจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นใจที่จะยอมรับและนำไปใช้ให้เกิดผลจริงในอนาคต
  • ขาดการลงทุนที่เพียงพอในการฝึกอบรมครูให้สามารถใช้เทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จในการสอน เพราะส่วนใหญ่จะใช้งบประมาณจำนวนมากในการเพิ่มอาร์ดแวร์และซอฟแวร์

แง่คิดเกี่ยวกับนวัตกรรม

         ในระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ วางการศึกษาของไทยได้เคลื่อนไหวและพยายามนำความคิดและวิธีการใหม่ ๆหรือนวกรรมการศึกษามาใช้เพื่อพัฒนาไปสู่ผลทางการศึกษาที่ดีขึ้นในบรรดาหลายความคิดและหลายวิธีการเหล่านั้นในเชิงปฏิบัติอาจยังเป็นที่สับสน และเป็นที่น่าสงสัยในแง่ต่าง ๆ อยู่หลายอย่าง เป็นต้นว่า ในขณะนี้มีนวกรรมการศึกษาใดบ้าง ที่เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องส่วนมากระดับการยอมรับนวกรรมยังอยู่ในระดับใดเพราะเหตุใดนวกรรมการศึกษาบางประเภทจึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างมั่นคงบางประเภทล้มลุกคลุกคลาน บางประเภทปรากฏเป็นที่ยอมรับกันพักเดียวก็เลิกไปตลอดจนนวกรรมการศึกษาเหล่านั้นมาจากไหนหรือเกิดขึ้นได้อย่างไรดังนั้นจึงขอถือโอกาสนี้อภิปรายแง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาเป็นด้าน ๆ ไปดังต่อไปนี้
1. การยอมนับและระดับการยอมรับนวกรรมการศึกษา
       นับตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา ได้มีการสำรวจวิจัยประเภทของนวกรรมการศึกษาในประเทศไทยหลายครั้งและหลายระดับการศึกษา
รวมทั้งที่ปรากฏเป็นรายงานของสถาบันการศึกษาบางแห่งในการนำนวกรรมการศึกษามาทดลองใช้ในสถาบันของตน ปรากฏว่ามีการใช้นวกรรมการศึกษากันอยู่หลายประเภทตั้งแต่การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการการสอนเป็นคณะ การใช้ศูนย์การเรียน การสอนแบบสืบสวนการสอนแบบจุลภาค บทเรียนโปรแกรมชุดการเรียนไปจนถึงการสอนระบบทางไกลในบรรดานวกรรมการศึกษาเหล่านั้นบางประเภทบางแห่งก็นำมาใช้จนเป็นธรรมดาไปแล้ว บางแห่งก็เลิกใช้ หรือไม่ก็ยังอยู่ในขั้นทดลองและตัดสินใจ บางแห่งก็ต้องการนำมาใช้จริงและแน่นอนส่วนจะทำได้เพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจพิจารณาก็คือการยอมรับนวกรรมการศึกษานี้ มีอันดับของการยอมรับด้วย
         นวกรรมบางประเภทในสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาบางแห่งหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางส่วน อาจเพียงยอมรับในระดับตื่นตัว สนใจหรือรู้เรื่องในบางแห่งบางส่วนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอาจยอมรับในระดับการเรียนรู้ ศึกษาแล้วทดลองปฏิบัติ บางแห่งบางส่วนอาจไปถึงขั้นของการนำมาปฏิบัติและขยายขอบข่ายของการใช้นวกรรมนั้นให้กว้างขวางออกไปมากขึ้นทุกทีดังนั้นในการศึกษาเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาที่มีอยู่ในประเทศไทย
ในโอกาสต่อไปน่าจะได้พิจารณาไม่เพียงแต่ประเภทของนวกรรมและระดับของการศึกษาเท่านั้นน่าจะได้พิจารณาตัวแปรทางด้านระดับของการยอมรับนวกรรมการศึกษานั้น ๆ ด้วย
2. องค์ประกอบในการยอมรับนวกรรมการศึกษา
          ตามที่กล่าวมาแล้วในความนำว่า นวกรรมการศึกษาบางประเภทในสถาบันและหน่วยงานการศึกษาบางแห่ง และโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางส่วน
มีการยอมรับในระดับของการนำไปใช้อย่างมั่นคงแต่ในบางแห่งและโดยบุคคลและกลุ่มบุคคล บางส่วนนวกรรมการศึกษานั้นกลับได้รับการปฏิเสธหรือไม่ก็มีอุปสรรคไม่อาจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นบางประเภทบางแห่งและโดยบุคคลบางส่วนยอมรับกันเพียงระยะสั้น ๆแล้วก็ล้มเลิกไปจึงน่าจะได้ศึกษากันให้
เห็นประจักษ์ว่าการยอมรับหรือปฏิเสธนวกรรมการศึกษาเกิดจากองค์ประกอบอะไร ตามความเป็นจริงการศึกษาทำนองนี้ จำเป็นที่จะต้องเอาหลักวิชาเข้ามาจับก่อนโดยศึกษาตัวแปรที่จะมีผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับนวกรรมการศึกษา โดยทั่วไปก่อน เป็นต้นว่า
- การสนองต่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน
- ตัวแปรเกี่ยวกับ 4-M
- ความก้าวหน้าและพัฒนาการทางวิชาการและเทคโนโลยี
- สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
- ความยุ่งยากของนวกรรมการศึกษานั้นเอง
- การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร
- เจตคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
- ความสามารถและความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้และอื่น ๆ
เมื่อตั้งตัวแปรอะไรก็สุดแล้วแต่จะเห็นเหมาะสมแล้วก็สามารถที่จะนำไปศึกษาในเชิงของกรณีศึกษา หรือการสำรวจในระดับกว้างเพื่อให้ได้ภาพในเรื่องนี้โดยรวมชัดขึ้นผลของการทำเช่นนี้จะทำให้ไม่เพียงพอแต่เราจะเห็นภาพของตัวแปรที่ส่งผลต่อการยอมรับนวกรรมการศึกษาได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นยังสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการยอมรับในระดับสูงและทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ในอนาคต

3. การเกิด การเผยแพร่ และการยอมรับนวกรรมการศึกษา          ในบางเวลา เราเคยหยุดและคิดกันบ้างหรือไม่ว่า ความคิด และการกระทำใหม่ ๆทางการศึกษาบางอย่างนั้น หรือที่ใช้ หรือทดลองใช้อยู่นั้นมาจากไหน มาได้อย่างไรและทำไมจึงนำเอามาใช้หรือนำมาทดลองใช้กันขึ้นแน่นอนนวกรรมการศึกษาแต่ละอย่างจะต้องมีที่มารวมทั้งมีขั้นตอนของการเผยแพร่ออกไป และได้รับการยอมรับขึ้นในที่สุดสิ่งที่น่าจับตาดูหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ กลุ่มบุคคล 3 ฝ่าย อันได้แก่ นวกร ผู้บริหารและผู้ปฏิบัตินวกร อาจหมายรวมถึงบุคคลที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆทางการศึกษาขึ้นเองซึ่งมักเป็นเทคโนโลยีการศึกษาเมื่อคิดขึ้นได้แล้วก็ทดลอง และพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้น หรือได้มาตรฐานแล้วก็เผยแพร่ออกไป เช่นคิดวิธีจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน คิดวิธีสอนจริยธรรมแบบเบญจขันธ์ เป็นต้นหรือหมายถึง หน่วยงาน เช่น โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน (RIT) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ส.ส.ว.ท.)ได้คิดวิธีใหม่ๆ ทางการเรียนด้วยตนเองหลายรูปแบบ และวิธีการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ขึ้น ทดลองและพัฒนาจนได้มาตรฐานแล้วเผยแพร่ออกไปนวกรการศึกษาบางท่านหรือบางกลุ่ม อาจได้แก่ ผู้ที่ศึกษาวิธีการใหม่ๆ มาจากการศึกษาเล่าเรียนหรือจากการอบรมแล้วนำมาเผยแพร่หรือนำมาดัดแปลง ทดลองแล้วเผยแพร่ต่อไป
บางท่านอาจเป็นครูอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ มีหน้าที่ต้องสอน อบรมเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษา แก่นิสิตนักศึกษาอยู่แล้ว ก็สอนและอบรม และสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมหรือไม่ก็เป็นวิทยากรในเรื่องเหล่านี้ให้แก่ผู้อื่นที่ต้องการนำไปใช้ นวกรการศึกษาบางกลุ่มอาจได้แก่ผู้ที่ทำงานอยู่และได้คิดค้นวิธีการใหม่ ๆจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ และพยายามเผยแพร่วิธีการใหม่ ๆ เหล่านั้น จากประสบการณ์ของตนต่อไป       
        ถ้าหากจะกล่าวรวม ๆ แล้วนวกรการศึกษามักจะเป็นผู้ที่ คิด-รู้-เล่นเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ ทางการศึกษา และพยายามเผยแพร่สิ่งใหม่ ๆ นั้นต่อไป แต่สิ่งที่น่าจะได้ศึกษาให้ละเอียดในเรื่องนี้ก็คือกลุ่มไหนหรือนวกรรมประเภทใดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการนำนวกรรมไปใช้มากที่สุดเพราะในการวางแผนเพื่อพัฒนาอิทธิพลทางด้านนี้จะสามารถทำได้ถูกจุดที่สุดผู้บริหาร การนำนวกรรมการศึกษาไปใช้จะต่อเนื่อง มั่นคงหรือไม่เพียงใด เรามักจะพบว่าส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ บารมีที่ได้รับจากผู้บริหาร หน่วยงานการศึกษาเริ่มตั้งแต่ความที่ท่านเหล่านั้นมีเจตคติที่ดีต่อนวกรรมการศึกษาความเป็นผู้นำหรือผู้บุกเบิกวางแผนการใช้ไปจนถึงการให้สนับสนุนและอิสระแก่ผู้ปฏิบัติหรือแก่การทดลองอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะทำให้การปฏิบัติการใหม่ ๆ ต้องล้มลุกคลุกคลานหรือล้มเหลวเสียกลางคันเมื่อเป็นเช่นนี้
เราจึงน่าจะให้ความสำคัญต่อคุณลักษณะทางผู้บริหารในฐานะตัวแปรเกี่ยวกับการยอมรับนวกรรมการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง และในบรรดาตัวแปรเหล่านั้น
ตัวแปรใดมีผลต่อการงอกงามในการนำนวกรรมการศึกษาไปใช้มากน้อยอย่างไรผู้ปฏิบัติ นวกรรมการศึกษาจะมีผลต่อการศึกษาในด้านคุณภาพและการแก้ปัญหาเพียงใดหรือไม่นั้น ต้องอาศัยว่ามีผู้ยอมรับและนำเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาเหล่านั้นไปใช้ ผู้ปฏิบัติในที่นี้ก็คือบุคคลที่เป็นผู้รับ ผู้ใช้ และผู้สืบทอดความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่นวกรรมและผู้บริการเผยแพร่ และสนับสนุนให้กระทำทว่า มีสิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ความคิด และวิธีปฏิบัติใหม่ ๆ ซึ่งถูกถ่ายทอดมาจากฝ่ายนวกรและผู้บริหารอย่างดีแล้ว กลับมาล้มเหลวตรงที่ผู้นำมาปฏิบัติ หรือตรงผู้ใช้นี่เอง เพราะเหตุใดเพราะอาจมีตัวแปรเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติหลายประการ ซึ่งเรายังไม่ได้ศึกษากันอย่างแท้จริงโดยรวมหรือเป็นกรณี ๆ ไปที่ส่งผลเป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่า เจตคติที่เขามีต่อการปฏิบัติหรือวิธีการใหม่ ๆ นั้น ความตั้งใจและความสามารถที่เขามีตลอดจนความเข้าใจในนวกรรมการศึกษาอย่างแจ่มแจ้งของเขาด้วยความเป็นไปได้ ความมั่นคงและความต่อเนื่องของการยอมรับและนำนวัตกรรมการศึกษาใด ๆ ไปใช้น่าจะขึ้นอยู่กับวัฏจักรหรือปฏิสัมพันธ์ของทีมกระบวนการนวกรรม ซึ่งประกอบด้วย
กลุ่มบุคคลสามฝ่ายที่ได้กล่าวมาแล้ว และตัวแปรของแต่ละฝ่ายเหล่านั้น การเกิดขึ้น การเผยแพร และการยอมรับอาจเริ่มจากนวกรการศึกษาไปยังผู้ปฏิบัติโดยตรงหรือผ่านไปทางผู้บริหารจึงไปถึงผู้ปฏิบัติก็ได้หรือผู้บริหารเป็นผู้ริเริ่ม และเป็นตัวกลางให้ผู้ปฏิบัติพบกับนวกรการศึกษา เพื่อก่อให้เกิดการนำเอาความคิดและวิธีการใหม่ ๆที่ต้องการมาใช้ก็ได้ในเรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะค้นหาให้พบจากกรณีที่เกิดขึ้นทั้งหลายทางนวกรรมการศึกษาว่าวงจรใดที่มีผลทางบวกต่อการยอมรับนวกรรมการศึกษาที่ได้ผลและการค้นพบในเรื่องนี้จะนำไปสู่การวางแผนที่เหมาะสมของการเผยแพร่นวกรรมการศึกษาต่อไป
มีแง่คิดที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการขยายผลของการนำนวกรรมการศึกษาไปใช้ให้กว้างขวางและต่อเนื่อง ซึ่งส่วนมากดูเหมือนว่าไม่เป็นไปตามที่ต้องการ เช่นการอบรมวิธีการเขียนบทเรียนโปรแกรมให้แก่ครูของเขตการศึกษา บางวิชา บางระดับโดยหวังว่าเมื่อเขียนบทเรียนแล้วครูเหล่านั้นคงจะผลิตบทเรียนโปรแกรมขึ้นใช้กันต่อไปหรือวิทยาลัยครูจัดการอบรมการสร้างชุดการเรียนวิชาต่าง ๆ แก่อาจารย์ที่สอนวิชาเหล่านั้นและหวังเช่นเดียว แต่ปรากฏภายหลังว่า จากจำนวนผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมไปแล้วทั้งหมด จะมีเพียงไม่กี่คนที่นำไปทำ และนำไปใช้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ของการหยุดชะงัก ทำให้น่าคิดว่า ผู้ผลิตกับผู้ใช้น่าจะเป็นคนละพวกกันมากกว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกัน หรือคน ๆเดียวกัน ผู้ใช้ซึ่งแน่ละมีอยู่จำนวนมาก เป็นผู้ที่รอผลิตผลจากผู้ผลิต
ดังนั้นผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาอย่างน้อยควรจะสังกัดหน่วยงานผลิตและบริการ ซึ่งมีโครงการต่อเนื่องรองรับ หน่วยงานนี้อาจเป็นศูนย์
ซึ่งมีหน้าที่คิด ทดลอง และผลิตก่อนที่จะนำไปเผยแพร่แก่ผู้ใช้ด้วยการอบรมวิธีการใช้นวกรรมการศึกษานั้นแก่เขาดังนั้นแทนที่ผู้ใช้จะเป็นผู้ผลิตและใช้
นวกรรมการศึกษาเองซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็เป็นเพียงรับการถ่ายทอดนวกรรมเพื่อใช้อย่างเดียว เท่านี้ก็พอแล้วและคิดว่านี่เป็นวิถีทางของการแพร่ขยายที่ได้ผลกว่าสรุปแล้วก็คือเส้นทางหรือขั้นตอนของการเผยแพร่และการดำเนินการแพร่ขยายการใช้นวกรรมการศึกษาให้ได้ผลนั้น
ต้องพิจารณาว่าควรจะทำกับใครและอย่างไรจึงจะมีผลทางการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและกว้างขวาง
จากแง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้นทั้งในด้านที่เกี่ยวกับการยอมรับ และระดับของการยอมรับก็ดี องค์ประกอบที่จะส่งผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับก็คือ วัฏจักร หรือ วงจรของกระบวนการนวกรรมตลอดจนการขยายผลในการใช้นวกรรมการศึกษาก็ดีจะเห็นว่ามีล้มเหลวอยู่หลายประการ และดูเหมือนจะมองเห็นกันอยู่ แต่ถ้าต้องการคำตอบไปใช้ขึ้นอยู่กับตัวแปรใดมากน้อยอย่างไร แล้วกลับเห็นไม่ค่อยชัด คงจะต้องให้ชัดแจ้งกันต่อไป ในประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นและหวังว่าถ้าทำและทำได้สำเร็จผลของการค้นพบจะสามารถนำมาเป็นข้อมูลสำหรับวางแผน ดำเนินการพัฒนางานด้านนวกรรมการศึกษาได้รัดกุม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นมาและเป็นอยู่ในขณะนี้

บทความทางวิชาการ

การคิดสร้างสรรค์หรือกรรมวิธีใหม่ๆ ซึ่งต่างไปจากที่เคยปฏิบัติมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานต่างๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เราเรียกว่า นวัตกรรม  นวัตกรรมตรงกับคำว่า “innovation”  ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า    To renew หรือ to modify หรือ ทำขึ้นมาใหม่ดังนั้น คนเราจึงควรมีนวัตกรรม คือ ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ ครู-อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเรียกว่า นวัตกรรมการศึกษานั่นเอง ฉะนั้นคำว่า นวัตกรรมการศึกษา จึงหมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ แนวความคิดวิธีการหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งได้ผ่านการทดลอง วิจัย หรืออยู่ระหว่างการทดลอง หรือ อาจเป็นสิ่งที่เคยใช้แล้วมาปรับปรุงใหม่มาใช้ในการศึกษาเพื่อปรับปรุง หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ให้ดี ยิ่งขึ้น
                   ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยนำนวัตกรรมการศึกษามาประยุกต์ใช้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ  นวัตกรรมการเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย วิถีคิด ที่ออกนอกกรอบเดิม พอสมควร คือ จะต้อง ออกนอก ร่องหรือ ช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่า จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด หรือ กระบวน ทัศน์ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ คือ การศึกษาเพียงเพื่อให้ ได้รู้นั้น มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนา ชีวิต และพัฒนา สังคมประเทศชาติ ซึ่งเป็น ความรู้ที่แนบแน่นอยู่กับงาน เกี่ยวพันอยู่กับปัญหา  เป็นความรู้ที่มีบริบท การเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการพัฒนาตัวโจทย์ขึ้นมาก่อน  โดยใช้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นหลักเรียกได้ว่ามีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นจึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเรียนรู้นี้ขึ้น มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้เอง  สามารถคิดเอง  ทำเอง และแก้ปัญหาเองได้ โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะ คอยให้คำแนะนำในการเรียนรู้  ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ0ได้นั้น  ต้องเริ่มจากการให้คำมั่นร่วมกันระหว่างคนเกี่ยวข้องในการทำนวัตกรรม  โดยทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสินค้าและตราสินค้าเพื่อให้เกิดความมั่นคงร่วมกัน  การปรับเปลี่ยนรกระบวนทัศน์   ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า   เพียงแค่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิดแล้ว   นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย 
จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองประกอบอื่นๆ มาสนับสนุนจึงจะประสบผลสำเร็จ   ในบทความนี้จะขอหยิบยก 3องค์ประกอบหลัก  ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรม การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นซึ่งได้แก่1) เวลา  2)โอกาส หรือเวที  และ 3)ไมตรี  องค์ประกอบแรก คือเรื่องขอเวลาพูดง่ายๆและตรงที่สุดก็คือถ้าไม่มีเวลา การเรียนก็ไม่เกิด หรือเกิดได้ยาก  เวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับการเรียนรู้  องค์กร  ชุมชน หรือครอบครัวใดที่มัวแต่ยุ่ง  ตกอยู่ในสภาพที่เรียนว่า โงหัวไม่ขึ้น  จะทำให้หมดโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  และไม่มีเวลาสำหรับใช้คิดสร้างสรรค์ได้เลย   องค์ประกอบตัวต่อไปที่จะช่วยสนับสนุนและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ได้ก็คือ  โอกาส  หรือเวทีที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   วิธีการแลกเปลี่ยนอาจจัดเวทีการเรียนรู้ที่มีรูปแบบที่หลากหลาย  คือมีทั้งเวทีที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ   เช่นการจัดประชุม  สัมมนาในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น  และเวทีในรูปแบบที่อาจจะไม่เป็นทางการมากนัก  คืออาจจะจัดในลักษณะที่เป็นการร่วมตัวของคนที่สนใจ  ไม่มีการบังคับและองค์ประกอบที่สาม  ที่จำเป็นสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้คือ  ไมตรี  คือต้องมีน้ำใจให้แก่กัน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้คงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน  ถ้าต่างฝ่ายต่างไม่ยื่นน้ำใจอันดีแก่กัน   นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จึงจำเป็นต้องอาศัยใจที่เปิดกวาง  ต้องเป็นใจที่ว่าง  ว่างพอที่จะรับสิ่งใหม่ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาโดยไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเก่าๆ จะต้องพัฒนาให้คนมีความสามารถที่จะละทิ้งสิ่งเก่าๆได้  ด้วยใจที่ไม่มีอคติ  ต้องมองทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็นในลักษณะที่ใหม่หมด  สดเสมอให้เป็นความรู้สึกเหมือนกับเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก  ไม่ซ้ำกับสิ่งที่ได้เกิดไปแล้วในอดีต   เป็นความรู้สึกตื่น  ต้องการ  แบ่งปัน  และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  แนวความคิดพื้นฐานที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้  ได้แก่ 1) แนวความคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences) จากที่เราได้เคยศึกษาทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับมนุษย์นั้น พบว่า มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านกายภาพได้ แก่ร่างกายและด้านสติปัญญา ความคิด และความรู้สึก การรับรู้และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจึงควรจัดให้สอดคล้องกับผู้เรียน เช่น ความถนัด ความสนใจ ความสามารถของแต่ละคน อัตราการเรียนเร็วช้าของแต่ละคน เช่นผู้เรียนที่เรียนรู้ได้เร็วจะได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป โดยไม่ต้องเสียเวลา ส่วนผู้เรียนช้าก็สามารถเรียนได้ตามอัตราการเรียนรู้ของตนโดยไม่เกิดปมด้อย นอกจากนี้ยังสามารถตอบนสนองทั้งด้านรูปแบบของแต่ละคน ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้ เป็นผลให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม หรือ บทเรียนสำเร็จรูป เครื่องช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอนรายบุคคล เป็นต้น แนวความคิดอย่างที่ 2) ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) แต่เดิมเคยมีความเชื่อว่าผู้เรียนจะเริ่มเรียนได้ต้องมีความพร้อมโดยเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการ ปัจจุบันทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ได้ศึกษาพบว่า ความพร้อมทางการเรียนเป็นสิ่งที่สามารถจัดขึ้นได้โดยการจัดบทเรียน ลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก และเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี นวัตกรรมการศึกษาที่เชื่อมกับแนวคิดนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ ชุดการสอน แนวคิดตัวต่อไปที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ แนวคิดที่ 3) คือ แนวคิดพื้นฐานในเรื่อง การเวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมจะระบุไว้แน่นอน ตายตัว เป็นภาคเรียน แนวคิดในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษานี้ เพื่อให้สัมพันธ์และมีความเหมาะสมกับลักษณะของรายวิชาแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากันเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาในการศึกษาตามความสามารถและความจำเป็นของแต่ละคนนวัตกรรมที่ตอบสนองการเรียนรู้นี้ได้แก่ ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น มหาวิทยาลัยเปิด เป็นต้น และแนวคิดพื้นฐานที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ อย่างที่ 4) แนวคิดพื้นฐานจากผลอันเนื่องมาจากการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ซึ่งผลกระทบดังกล่าว ทำให้ความต้องการทางด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นตลอดจนความจำเป็นที่ต้องศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และการดำรงชีวิตอีกทั้ง การศึกษาในระบบนั้นไม่สามารถจัดให้ไดอย่างเพียงพอ เป็นผลที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเปิด (open  university)การเรียนทางวิทยุโทรทัศน์   การเรียนทางไปรษณีย์  แบบเรียนสำเร็จรูป และชุดการเรียนนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนแบบตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1.        สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่  สไลด์  แผ่นใส  เอกสารตำราสารเคมี สิ่งพิมพ์ต่างๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2.         สื่อประเภทอุปกรณ์  ได้แก่  ของจริง  หุ่นจำลอง  เครื่องเล่นเทปเสียง  เครื่องเล่นวีดีทัศน์  เครื่องฉายแผ่นใส  อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3.        สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ  ได้แก่  การสาธิต  การอภิปรายกลุ่ม  การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน  การจัดนิทรรศการ  และสถานการณ์จำลอง
4.        สื่อประเภทคอมพิวเตอร์  ได้แก่  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (cai) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (computer  presentation) การใช้ internet และ internet เพื่อการสื่อสารและการใช้  www  ( world  wide  web )
                 ในปัจจุบันนวัตกรรมมีรูปแบบหลากหลายมากมาย  เพื่อให้เราสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของบริบทแต่ละสถานที่  ผู้เรียน  และปัจจัยอื่นๆด้วย  ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามประเภทของนวัตกรรม  ดังนี้
                   1
.        บทเรียนสำเร็จรูป
                   2.        ชุดการสอน
                   3
.        แผ่นภาพโปร่งใส
                   4
.        เอกสารประกอบการสอน
                   5
.        บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                   6
.        วีดีทัศน์
                   7
.        สไลด์
                   8
.        เกม
                   9
.         สื่อประเภทอุปกรณ์                  10.    มัลติมีเดีย
                  11.   internet
                 12.   e-learning
                  ดังนั้นในการพัฒนาการศึกษา  เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้คนสนใจ  และใคร่ที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา   เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอน ต่อไปน่าจะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น  เพราะปัจจุบันมีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ    ซึ้งต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามสภาพ
จริง  เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ   ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายมีความสนใจกระตือรือร้นและเกิดความอยากรู้อยากเห็น  สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองประกอบที่สำคัญดังนี้  ครูผู้สอน  ต้องมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมประเภทMultimedia    สามารถจัดทำสื่อนวัตกรรมออกมาใช้ในการเรียนการสอน    เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ   ผู้เรียนจะต้องสน  
ใฝ่เรียนรู้ในเรื่องขอการใช้นวัตกรรมในรูปแบบของไอทีให้มากขึ้น  เพื่อจะได้เกิดความคุ้นเคยแล้วสามารถใช้สื่อได้อย่างถูกต้อง   และสถานศึกษาต้องจัดทำสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์   ให้พร้อมเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและทำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีความสมบูรณ์  ซึ้งจงส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปพัฒนาการศึกษาให้มีความเจริญ ก้าวหน้าต่อไป