ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

Technology Learning Cycle

Technology Learning Cycle เป็นรูปแบบของกระบวนการในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมิสซูรี-โคลัมเบีย (University of Missouri-Columbia)ประเทศอเมริกา ซึ่งเป็นการอธิบายถึงกระบวนการในการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีของครูในลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายการจัดการศึกษา
โดยมีองค์ประกอบดังนี้
  1. Awareness หมายถึง การสร้างความตระหนักให้แก่ผู้เรียน โดยการชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึง วัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายอย่างกว้าง ๆ ของการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา อีกทั้งชี้ให้เห็นถึงเทคโนโลยีและแหล่งทรัพยากรที่เหมาะสมสำหรับการจัดการศึกษา
  2. Exploration and Filtration หมายถึงการสำรวจและกลั่นกรองที่จะศึกษานวัตกรรมเทคโนโลยี โดยผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้เลือกเรียนรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการในการเรียนรู้เพื่อนำเทคโนโลยีไปใช้ในการจัดการศึกษาตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล เพื่อความสำเร็จในงานที่ได้รับมอบหมาย
  3. Learning หมายถึง กระบวนการที่ผู้เรียนดำเนินการเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในตนเอง 2 ลักษณะ คือ ประการแรก เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ได้เลือก และประการที่สอง คือการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีนั้น ๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์จริง
  4. Personal and Professional Application หมายถึง การสร้างความสามารถเฉพาะตัวและการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีอย่างมืออาชีพ ซึ่งเกิดหลังจากที่ผู้เรียนพัฒนาตนเองจนเกิดความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาแล้ว ผู้เรียนจะเกิดความปรารถนาในการยกระดับความชำนาญของตนเองให้สูงขึ้น เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยู่ในระดับที่สามารถพัฒนาทักษะตนเองเพื่อการเรียนรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีอื่นๆ ต่อไป
  5. Sharing and Reflection หมายถึงการเผยแพร่และสะท้อนความคิดที่เป็นองค์ความรู้ในแต่ละบุคคลออกมาสู่ผู้อื่น เพื่อการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้และสร้างผลงานจากการดำเนินงานจริง ที่สะท้อนถึงการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีและการประเมินผลสำเร็จจากการดำเนินงาน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดความรู้ในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น